top of page

พบผลการค้นหา 220 รายการ

  • วัดสะพานหิน : ร่องรอยพื้นที่ต้นน้ำศักดิ์สิทธิ์ก่อนเมืองสุโขทัย

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ย. 2561 พระอัฏฐารสปางประทานอภัยประทับยืนในวิหาร โบราณสถานต่าง ๆ บริเวณเมืองเก่าสุโขทัยคือภาพสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ อย่างไรก็ตาม พื้นฐานของเมืองสุโขทัยและในบริเวณลุ่มน้ำยมมิได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เท่านั้น หากแต่มีร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีการอยู่สืบ เนื่องกันมาอย่างยาวนานคือเรื่องของทรัพยากรและสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของบ้านเมืองพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมในพื้นที่ โบราณสถานบริเวณเมืองสุโขทัยมิได้มีสถานะเพียง แค่ภาพแทนความรุ่งเรืองทางศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมาย ถึงการควบคุมหรือการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ทรัพยากรที่สำคัญของบ้านเมือง ณ บริเวณแหล่งต้นน้ำที่อยู่ใกล้เคียงหล่อเลี้ยงบ้านเมือง บริเวณเชิงเขาหลวงแห่งนี้มาอย่างยาวนาน   และจากการสำรวจพื้นที่เพื่อถ่ายทำรายการ “อดีต ใน อนาคต” ตอน “นครรัฐสุโขทัยในสยามประเทศ” พบข้อมูลตามการ สันนิษฐานของนักวิชาการหลายท่านว่าโบราณสถานบางแห่ง เช่น “วัดสะพานหิน” น่าจะเป็นพื้นที่ต้นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย   สำหรับร่องรอยชุมชนโบราณก่อนการเกิดขึ้นของเมือง สุโขทัย พบว่าอาณาบริเวณโดยรอบของเมืองสุโขทัยมีร่องรอยของ การตั้งถิ่นฐานผู้คนก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อย่างชัดเจน นับตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณพื้นที่ต้นลำน้ำแม่ลำพัน มีแหล่ง โบราณคดีที่สำคัญคือ แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องจนถึงสมัยทวารวดี ทั้งเป็นแหล่งถลุงเหล็กและพบโบราณวัตถุ พวกเครื่องมือเหล็กและภาชนะดินเผาตลอดจนลูกปัดแก้ว จี้ห้อยคอ ดุนลายรูปลิงหรือสิงห์ทำด้วยทองคำและเงิน เหรียญศรีวัตสะ และ เหรียญรูปพระอาทิตย์ในสมัยทวารวดี ขณะที่บริเวณเมืองสุโขทัยได้ พบโบราณวัตถุพระพุทธรูปยืนสมัยทวารวดีและที่เมืองศรีสัชนาลัย พบร่องรอยโบราณสถานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่นด้วยเช่นกัน การแพร่กระจาย โบราณวัตถุในสมัยทวารวดีในลุ่มน้ำยมดังกล่าวสัมพันธ์กับเส้นทาง ลำน้ำของแต่ละชุมชน โดยเส้นทางหลักคือน้ำแม่ลำพันและแม่น้ำยม  ดังนั้นการค้นพบร่องรอยชุมชนสมัยทวารวดีในบริเวณลุ่ม น้ำยมสะท้อนให้เห็นถึงการแพร่กระจายของวัฒนธรรมทวารวดีจาก บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาขึ้นมายังบริเวณลุ่มน้ำยมเช่นเดียวกับลุ่มน้ำอื่น ๆ เช่น ลุ่มน้ำน่านในเขตจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันพบใบเสมาหิน สลักภาพพระพุทธรูปประทับนั่งแบบทวารวดีที่วัดหน้าพระธาตุ เมืองนครไทย (อำเภอนครไทย) และชิ้นส่วนพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่ เขาสมอแคลง (อำเภอวังทอง) ฯลฯ และต่อมาร่องรอยชุมชนความ เป็นเมืองปรากฏอย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงที่กลุ่มวัฒนธรรมขอมเข้า มามีบทบาทในพื้นที่ดังปรากฏร่องรอยโบราณสถาน เช่น ปรางค์เขา ปู่จา ปราสาทศาลตาผาแดง และปราสาทที่วัดพระพายหลวง ก่อนที่ จะเกิดการสร้างเมืองสุโขทัยในเวลาต่อมา   บริเวณเทือกเขาหลวงและเขตภูเขาด้านทิศใต้และตะวันตก เฉียงใต้ถือแหล่งต้นน้ำลำธารซึ่งมีระบบการจัดการชลประทานในรูป แบบของทำนบทดน้ำและอ่างเก็บน้ำที่เรียกว่า ตระพังถือเป็นระบบ ชลประทานแบบเมืองสุโขทัยที่เป็นอัตลักษณ์  ทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการ ของบ้านเมืองสมัยโบราณสำหรับเมืองสุโขทัยในตรีบูรซึ่งเป็นเมืองที่ เกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีลักษณะเมืองในผังสี่เหลี่ยมมีคัน ดินซ้อนกันสามชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลาดเอียงและมีลำน้ำสำคัญคือลำน้ำแม่ลำพันที่มีต้นน้ำในเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และลำน้ำคลองเสาหอจากเขาหลวงทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย จากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวเมืองสุโขทัยมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยมีระบบการจัดการน้ำและควบคุมน้ำเพื่อให้บ้านเมืองดำรงอยู่ได้ ทั้งในช่วงฤดูน้ำและฤดูแล้ง   ประการแรก จากการเป็นพื้นที่ลาดเอียงโดยมีแหล่งต้นน้ำจากทางเทือกเขาหลวงทางทิศตะวันตกบริเวณแนวด้านหน้าเขาทาง ทิศตะวันออกพบร่องรอยของการทำคันดินหรือทำนบสำหรับชะลอน้ำเช่น บริเวณระหว่างช่องเขาพระบาทใหญ่และเขาพระบาทน้อยทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสุโขทัย มีคันดินชะลอน้ำที่ไหลมาจาก “โซก พระร่วง ลองพระขรรค์” จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นคันดินในแนวทิศเหนือ-ใต้มีความยาว ๔๙๐ เมตร สูง ๘ เมตร และกว้าง ๓๐ เมตร ทำนบบริเวณนี้ต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า “สรีดภงส์”  จากการสำรวจของคุณพิทยา ดำเด่นงาม นักโบราณคดีของ กรมศิลปากรพบว่า ถัดไปทางทิศใต้ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยประมาณ ๗ กิโลเมตรพบคันดินชะลอน้ำที่ไหลมาจาก “โซกพระแม่ย่า” มายัง พื้นที่ช่องเขาระหว่างเขาสะพานเรือและเขากุดยายชีในแนวทิศเหนือ-ใต้ขนาดความยาว ๑,๑๗๕ เมตรกว้าง ๒๕ เมตร ถือเป็นทำนบที่ เป็นสรีดภงส์อีกแห่งหนึ่ง   การทำคันดินเหล่านี้มีประโยชน์ในการช่วยชะลอความแรง ของกระแสน้ำและกักเก็บน้ำที่หลากมายังพื้นที่นาและชุมชนทางทิศ ตะวันออกของเขาหลวงทั้งเมืองสุโขทัยและทางทิศใต้ยังมีชุมชนอื่น ๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากโบราณสถานบนเขาปู่จา เป็นต้น  อย่างไรก็ตามนอกจากทำนบที่ชะลอน้ำระหว่างช่องเขาแล้ว ถัดออกมาบนพื้นที่ลาดยังคงพบแนวทำนบในแกนทิศเหนือ-ใต้ ทั้ง ทางทิศเหนือและใต้ของเมืองสุโขทัย รวมทั้งแนวคันดินบางแห่ง เช่น บริเวณทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยยังทำหน้าที่ในการเบนน้ำให้ลงคูเมืองสุโขทัยทางประตูอ้อ (ทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย)  ประการที่สอง ระบบการจัดเก็บน้ำอีกรูปแบบหนึ่งของเมือง สุโขทัยคือการกักเก็บน้ำไว้ในตระพังหรือสระน้ำซึ่งรูปแบบดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนการเกิดเมืองสุโขทัย เช่น ที่วัดพระพายหลวง ฯลฯ และ ต่อมาเมื่อเกิดเมืองสุโขทัยขึ้นแล้วพบว่ามีโบราณสถานหลายแห่งที่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางตระพัง เช่น วัดตระพัง-ทอง วัดตระพังเงิน วัด สระศรี ฯลฯ น้ำที่ล้อมรอบโบราณสถานเหล่านี้อาจมีความหมายเป็น น้ำศักดิ์สิทธิ์และเป็นอุทกสีมาไปพร้อม ๆ กับการเป็นน้ำกินน้ำใช้ของ ชาวเมืองสุโขทัยดังปรากฏในจารึกหลักสำคัญ  แผนภาพทิศทางการไหลของน้ำจากเทือกเขาหลวงไปทางทิศตะวันออก การจัดการดูแลรักษาต้นน้ำที่เห็นได้ชัดของเมืองสุโขทัย คือ การสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริ เวณที่ทางน้ำไหลผ่านจากเทือกเขาลงสู่เขต ที่ราบ เพื่อดูแลสภาพแวดล้อมและควบคุมการใช้ทรัพยากรมิให้บุคคลใดมาผูกขาดการใช้ทรัพยากร โดยทำให้เป็นพื้นที่สาธารณะและยก ให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อการแบ่งปันดูแลทรัพยากร ใช้ความเชื่อ เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติมากำกับ อีกนัยหนึ่งอาจหมายถึงการทำให้น้ำมีความศักดิ์สิทธิ์หรือบริสุทธิ์โดยการไหลผ่านสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใน พื้นที่บริเวณเมืองสุโขทัยมีเทือกเขาหลวงทางทิศตะวันตกของเมือง มี หลักฐานในสมัยสุโขทัยสะท้อนให้เห็นว่าชาวเมืองเชื่อว่าเป็นที่สถิตของ “พระขพุงผี” ซึ่งเป็นผีใหญ่ที่สุดหรือผีปกปักรักษาเมืองในโลกทัศน์ ของชาวสุโขทัยขณะที่ตามแนวเทือกเขามีร่องรอยโบราณสถานบน เทือกเขาขนาดย่อมด้านหน้าสุด ตั้งเรียงรายซึ่งแต่ละแห่งตั้งอยู่ใกล้ กับทางน้ำที่ไหลผ่านซอกเขามาสู่ตัวเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันออก ถัด มาอีกเวิ้งเขาอีกแห่งของเทือกเขาหลวงมีร่องรอยศาสนสถานในระบบ ความเชื่อท้องถิ่นคือ “ถ้ำพระแม่ย่า” ประดิษฐานพระแม่ย่าที่ดูจะเป็น รูปเคารพสตรีที่เพิงผาเหนือโซกพระแม่ย่าที่เป็นลำน้ำสำคัญของท้องถิ่นบริเวณนอกเมืองสุโขทัยด้านทิศใต้ การสร้างศาสนสถานและรูปเคารพดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับเส้นทางลำน้ำหรือโซกน้ำไปทางทิศตะวันออก อันเป็นนัยของการใช้อำนาจเหนือธรรมชาติหรือระบบความเชื่อทางศาสนามาควบคุมแหล่งทรัพยากรน้ำสำคัญของท้องถิ่นและของเมืองสุโขทัย “วัดสะพานหิน” นั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของลำน้ำสำคัญที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนก่อนเมืองสุโขทัยบริเวณพื้นที่ต้นน้ำทาง ทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยปรากฏศาสนสถานต่าง ๆ เรียงราย อยู่บนเชิงเขาในกลุ่มเทือกเขาหลวง อาทิ วัดสะพานหิน วัดเขา พระบาทน้อย วัดอรัญญิก วัดเจดีย์งาม วัดเขาพระบาทใหญ่  กลุ่มวัดอรัญญิกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ เมืองสุโขทัยบนภูเขาขนาดย่อมไม่สูงมากนัก มีทางเดิน ขึ้นเขาปูด้วยหินชนวน ในเขตโบราณสถานของวัดมีพระ อัฏฐารส หรือ พระพุทธรูปประทับยืนปางประทาน-อภัย ซึ่งได้รับการบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ประดิษฐานอยู่ในวิหารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า พระ-อัฏฐารสองค์นี้น่าจะเป็นพระอัฏฐารสองค์เดียวกับที่ปรากฏใน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ความว่า “...ในกลางอรัญญิก มี พิหารอันณื่ง... ใหญ่สูงงาม...มีพระอัฎฐารศอันณื่งลุก ยืน...” ในจารึกหลักที่ ๑ นี้ยังระบุว่าในวันเดือนดับและ วันเพ็ญพ่อขุนรามคำแหงทรงช้างเผือกชื่อ “รูจาครี “ มาไหว้พระในอรัญญิกซึ่งน่าจะรวมถึงวัดแห่งนี้  อย่างไรก็ตามแม้ว่าโบราณสถานวัดสะพาน หินจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย แต่พบพระพุทธรูปศิลปะ สมัยทวารวดีประทับยืน รวมทั้งพบฐานหินชนวนสี่เหลี่ยม มีหลุมอยู่กึ่งกลางซึ่งอาจเป็นฐานเดิมของพระพุทธรูปที่ ประดิษฐานอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้ เคยเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่สมัยทวารวดี สอดคล้องกับบริเวณพื้นที่ ทางทิศตะวันออกของวัดสะพานหินเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและชุมชน เก่าก่อนเมืองสุโขทัยคือบริเวณ “วัดพระพายหลวง” ที่มีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบศาสนสถาน โดยรับธารน้ำจากบริเวณเขาพระบาทน้อย และบริเวณนี้มีคันดินชะลอน้ำบริเวณวัดศรีชุม คันดินดังกล่าวน่าจะทำหน้าที่เบนน้ำลงตระพังวัดพระพายหลวง ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนสถานก่อนสมัยสุโขทัย จนเมื่อมีการสร้างเมืองในผังสี่เหลี่ยมมีตรีบูรแล้วจึงมีการ ใช้ลำน้ำจากโซกพระร่วงฯ ลงสู่คลองเสาหอเบนน้ำลงคูเมืองสุโขทัย ทางประตูอ้อในเวลาต่อมา การนำน้ำจากแถบเขาแถบวัดสะพานหิน จึงมีการใช้สำหรับเมืองสุโขทัยลดน้อยลง  อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้ตั้งข้อสังเกตว่า แต่เดิมพื้นที่แห่ง นี้น่าจะเป็นที่สิงสถิตของผีต้นน้ำที่สำคัญมาตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดี เพราะเมื่อถึงสมัยทวารวดีระบบความเชื่อทางศาสนาพุทธได้เข้ามาบูรณา-การกับความเชื่อท้องถิ่นเกิดเป็นการสร้างพุทธศาสนสถานขึ้น ในพื้นที่แห่งนี้ โดยบริเวณโบราณสถานวัดสะพานหินพบหลักฐานชิ้น สำคัญคือพระพุทธรูปประทับยืนทำวิตรรกะมุทราบนฐานบัว มีความ สูงเกือบ ๓ เมตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนแบบทวารวดีใหญ่ที่สุดเท่าที่ เคยค้นพบมา (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่บันทึกไม่ตรงกันว่านำมาจากวัดมหาธาตุ สุโขทัย) และนอกจากนี้ ยังพบพระพุทธรูปประทับยืนแบบทวารวดีขนาดย่อมกว่าซึ่งจัดแสดงอยู่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เห็น ถึงการให้ความสำคัญกับพื้นที่ต้นน้ำแห่งนี้ จนกระทั่งถึงในสมัยสุโขทัย ยังคงให้ความสำคัญกับพื้นที่ดังกล่าวด้วยการสร้างโบราณสถาน วัดสะพานหินในรูปแบบของศิลปะสุโขทัยด้วยเช่นกัน  พระพุทธรูปประทับยืนศิลปะทวารวดีขนาดใหญ่ ขนาดสูงกว่า ๓ เมตรพบที่วัดสะพานหิน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนค ร ดังนั้นวัดสะพานหินจึงเป็นภาพสะท้อนของพื้นที่ ศักดิ์สิทธิ์ต้นน้ำแห่งหนี่งที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างเมืองสุโขทัย กล่าวคือ เป็นแหล่งน้ำที่มีการใช้งานปรากฏ หลักฐานชัดเจนมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งอาจมีบ้าน เมืองเป็นชุมชนขนาดเล็กตั้งถิ่นฐานอยู่และสัมพันธ์กับ ตระพังน้ำที่ล้อมรอบวัดพระพายหลวงก่อนการเกิดขึ้น ของเมืองสุโขทัย จนกระทั่งมาถึงสมัยสุโขทัยภายหลัง จากสร้างบ้านแปงเมืองเป็นนครรัฐแล้วยังคงให้ความ สำคัญกับพื้นที่แห่งนี้อยู่ด้วยการสร้างวัดสะพานหินอันมี พระอัฏฐารสเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ เป็นการสืบเนื่อง ของแนวคิดในการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จากการจัดการน้ำในอดีตจนมาเป็นศาสนสถานสำคัญของเมืองสุโขทัยในเวลาต่อมา  พนมกร นวเสลา  อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • สามย่านรามา โรงหนังในย่านตลาดของคนเมืองแกลง

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2561 หากเอ่ยถึงคำว่า “สามย่าน” หลายคนคงนึกไปถึงสามย่าน แถบจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่สามย่านที่กำลังจะกล่าวถึงคือสามย่านที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งการให้ความหมายของคำว่า “สามย่าน” ของคนเมืองแกลงนั้นมีอยู่หลายชุดข้อมูล จากการพูดคุยกับ ครูลำใย วงศ์พิทักษ์ อดีตข้าราชครูผู้เป็นที่เคารพนับถือของคนเมืองแกลงวัย ๙๒ ปี เล่าว่า  ‘การเป็น ‘สามย่าน’ คือ หากยืนตรงจุดกลางสามแยกหน้าที่ว่าการอำเภอ (หลังเก่า) หันหลังให้ที่ว่าการอำเภอแล้ว ‘หันหน้า’ ไปยังบ้านดอนเค็ดและบ้านโพธิ์ทอง ซึ่งมีถนนลงไปสู่ท่าเรือ ปัจจุบันคือหัวสะพานร้อยปีเมืองแกลง ‘ขวามือ’ คือเส้นทางไปสู่วัดพลงช้างเผือกและบ้านทะเลน้อย ‘ซ้ายมือ’ คือเส้นทางไปสู่ทางวัดสารนาถธรรมาราม’ แต่ก็มีคนรุ่นต่อมาให้ความหมายของ “สามย่าน” อีกว่า คือสามแยกที่เป็นถนนสุขุมวิทตัดกับถนนเดิมบริเวณป้ายทันใจและวงเวียนนอกซึ่งเป็นหัวถนนสุนทรโวหาร ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว บริเวณดังกล่าวเคยเป็นที่จอดรถโดยสารสำหรับไปมาที่ตลาดสามย่าน   เดิมเมืองแกลงที่ “สามย่าน” นั้นมีแหล่งการค้าและความเจริญอยู่เพียงแค่ช่วงถนนสุนทรโวหารและพื้นที่ท่าน้ำ  ผู้คนเข้ามาทำการค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนจีนที่เล่าว่ามาจากปากน้ำประแส บริเวณแยกหน้าอำเภอมีร้านค้าและแหล่งบันเทิงต่าง ๆ เช่น โรงฝิ่นและวิกมหรสพ คนเมืองแกลงเล่าว่า แต่เดิมมีวิกมหรสพอยู่สองวิกเท่านั้นคือ ‘วิกของลุงชิว’ เป็นวิกเล็กอยู่บริเวณหน้าโรงพักหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหอประวัติเมืองแกลงสำหรับทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของชุมชน ส่วนวิกอีกแห่งซึ่งเป็นวิกใหญ่คือ ‘ไพบูลย์บันเทิง’ เป็นของคุณอำพล บุญศิริ บุตรชายของหลวงแกลงแกล้วกล้า (บุญศรี บุญศิริ) และคุณนายประกอบ ยิ่งภู่ ซึ่งเป็นภรรยาของคุณอำพล ส่วนชื่อวิกนั้นตั้งตามชื่อลูกชาย คือคุณไพบูลย์ บุญศิริ ก่อตั้งเมื่อประมาณช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อยู่บริเวณเชิงสะพานร้อยปีในปัจจุบัน วิกหนังไพบูลย์บันเทิงนั้นคนสามย่านจะเรียกกันอยู่หลายชื่อ บ้างก็เรียกวิกคุณพล บ้างก็เรียกวิกคุณนายประกอบ คนสามย่านที่เกิดและโตร่วมสมัยกับวิกหนังไพบูลย์บันเทิงต่างเล่าเป็นเสียงเดียวกันว่า วิกดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ทันสมัย แหล่งพบปะสังสรรค์ให้ความสนุกสนานของคนเมืองแกลง มีทั้งหนัง ลิเก ละคร เป็นต้น บรรยากาศของพื้นที่ รอบ ๆ ก็เต็มไปด้วยความคึกคักของผู้คนที่สัญจรไปมา รวมทั้งแรงงานจากโรงเลื่อยที่อยู่อีกฝั่งคลอง ผู้คนที่มาจับ จ่ายชื้อของและมาต่อเรือที่ศาลาท่าโพธิ์ เพื่อจะเดินทางต่อไปยังปากน้ำประแส " สามย่านรามา" โรงหนังแห่งเดียวในเมืองแกลง หลังจากที่วิกมหรสพยุคนั้นเริ่มซบเซาได้เกิดแหล่งบันเทิงแห่งใหม่ขึ้นมานั่นคือ ‘สามย่านรามา’ ซึ่งเป็นโรงหนังแบบเดี่ยว ๆ หรือ Stand alone แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองแกลง   ตั้งอยู่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองแกลง เดิมพื้นที่บริเวณนี้คือตลาดเทศบาล ๒ ซึ่งมีร้อยโท นายแพทย์ประณีตและนางกิ่งจันทร์ แสงมณี ได้สร้างและยกให้เป็นสมบัติของสุขาภิบาลทางเกวียนหรือสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองแกลงปัจจุบัน เพื่อหวังจะขยายเมืองจากทางฝั่งถนนสุนทรโวหารออกมา แต่เดิมพื้นที่โดยรอบเป็นป่าและเป็นสวนยาง ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่  โรงหนังเติบโตและขยายตัวมากตามต่างจังหวัดในช่วงยุคต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นผลมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๙) ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ต่างจังหวัดเริ่มมีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานสะดวกขึ้น มีถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา นับจากนั้นเป็นต้นมาทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์เติบโตขึ้นตามมาเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดธุรกิจการทำภาพยนตร์ออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ "คุณสมพงษ์  โชติวรรณ" ผู้เป็นทายาทของคุณพิพัฒน์ โชติวรรณผู้ดูแลและผู้เช่าโรงหนังเฉลิมธานีที่นางเลิ้ง และเป็นผู้บุกเบิกทำธุรกิจโรงภาพยนต์ในพื้นที่ภาคตะวันออกหลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือโรงหนังสามย่านรามา คุณสมพงษ์เล่าถึงที่มาที่ไปในการก่อตั้งสามย่านรามาว่า  "ประมาณช่วงปี ๒๕๐๐ กว่า ๆ ในสมัยของจอมพลสฤษดิ์ หมอประณีต มีนโยบายในการพัฒนาเมืองแกลง จึงได้เชิญชวนไปลงทุนทำโรงหนัง โดยการยกที่ดินใกล้กับตลาดสด พื้นที่เทศบาลเมื่อก่อนนั้นเป็นป่ายางก่อนจะพัฒนามาเป็นตลาด และหมอประณีตมองว่าถ้าทำตรงนี้เจริญแล้วอนาคตข้างหน้าจะมอบให้กับสุขาภิบาล ในเมื่อมีตลาด ต้องมีโรงหนัง หากมีโรงหนังจะสามารถดึงดูดคนให้เข้ามาตลาดมากขึ้น" ด้วยความที่เป็นเมืองขนาดเล็ก หากมีงานวัดต่างๆ ตั๋วหนังจะขายดี คนทำบุญเสร็จแล้วก็มาดูหนังกันต่อ แต่ละวันฉายเพียงสองรอบเท่านั้น คือ รอบบ่ายและรอบค่ำ หากหนังดังคนก็ล้นอยู่เหมือนกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหนังไทยมากกว่าหนังต่างประเทศ เพราะหนังต่างประเทศไม่ค่อยเป็นที่นิยมถึงแม้จะมีกระแสดังแค่ไหน ผู้ชมส่วนใหญ่ก็คือคนในท้องถิ่น ทั้งพ่อค้า ชาวสวนและชาวประมงที่สามย่านหรือที่มาไกลจากประแส แม้ประแสจะมีโรงหนังด้วยก็ตาม  "โรงหนังทางประแสเป็นโรงเล็กและไม่ค่อยมีหนัง เป็นเหมือนโรงลิเก โรงมหรสพ"  คุณสมพงษ์ให้ข้อมูล ป้ายโฆษณา โปสเตอร์ รถแห่ และการตีตั๋ว การโฆษณาเป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้ในธุรกิจทำโรงภาพยนตร์เพราะเป็นการกระจายข่าวถึงโปรแกรมหนังที่กำลังฉายและหนังที่กำลังจะเข้ามา ป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์นั้นมีช่างประจำที่มารับจ้างเขียนให้ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นที่แกลง โดยปกติแต่ละโรงจำเป็นต้องมีช่างเขียนประจำ แต่หากช่างเขียนมีฝีมือดีก็สามารถรับงานได้หลายที่ ก่อนที่จะได้ช่างท้องถิ่นมา ต้องเอาคนที่มีฝีมือมาถ่ายทอดแล้วเรียนรู้ต่ออีกที นอกจากนั้นยังต้องมีการโฆษณาโดยการใช้รถแห่ไปหลาย ๆ จุด หรือต้องไปฝากโปสเตอร์ไว้ตามร้านค้าในท้องถิ่น แลกเปลี่ยนโดยการให้บัตรดูฟรี คุณสมพงษ์เล่าว่า "บางทีต้องฝึกเด็กใหม่ ๆ ขึ้นมา สมัยก่อนป้ายโฆษณาหนังต้องติดรถแห่ ทากาวไม่ให้มีรอยย่น โรงหนังมันต้องไม่หยุดเรียนรู้ทุกอย่าง สมัยก่อนการทำแบนเนอร์ [Banner] ยังไม่มีต้องอาศัยช่างเขียนเป็นหลัก คนมีฝีมือก็เกิดขึ้น รถแห่สมัยก่อนเวลาไปที่ไหนชาวบ้านก็จะขี่มอเตอร์ไซค์มาดูกัน ต้องมีเทคนิคการทำโฆษณา สมัยก่อนแหล่งบันเทิงนอกจากทีวีก็มีโรงหนังเท่านั้น คนเลยนิยม" ช่วงเวลาในการฉายหนังจะไม่มีการยืนโรงนานนัก แต่ถ้าหนังดี ๆ มีคนมาดูมากต้องเบียดแย่งกันตีตั๋วเพราะไม่มีการกำหนดหมายเลขที่นั่ง และตัดปัญหาเรื่องค่าตั๋วโดยการขายราคาเดียวกันทั้งหมด ผู้ชมจับจองที่นั่งตรงไหนก็สามารถทำได้ ก่อนฉายต้องเปิดเพลงหน้าโรงให้ครึกครื้น เช่น เปิดเพลงมาร์ช และเลือกเพลงให้เป็นเอกลักษณ์ของโรงหนัง โรงหนังสามย่านรามาขนาดของโรงหนังสามารถบรรจุคนได้ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ที่นั่ง โดยเป็นเก้าอี้แบบพับ  โรงหนังต้องใช้คนหลายหน้าที่ ตั้งแต่พนักงานต้อนรับ คนขายบัตร คนฉายหนัง พนักงานต้อนรับเปิด-ปิดประตู และผู้รักษาความสะอาด ดูแลสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แล้วยังต้องมีนักเลงคุมด้วย เพื่อป้องกันคนมาขอดูหนังฟรี การเลือกหนังมาฉายนั้นตามความเข้าใจของคนทั่วไปคงคิดว่าโรงหนังสามารถที่จะเลือกเฉพาะหนังที่คิดว่าดังหรือกระแสดีมาฉายได้ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้เพราะทางบริษัทหนังต้องส่งหนังคละกันมาให้ฉายต้องมีทั้งหนังดังและไม่ดังมาด้วย ส่วนจะฉายหรือไม่ฉายขึ้นอยู่กับผู้บริหารงานโรงหนังจะจัดการเอง โรงภาพยนต์สามย่านรามาที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง "บรรยากาศรอบ ๆ โรงหนังเวลาหนังเลิกจะมีรถเข็นมาดักรอคน ขายของกินต่างๆ บรรยากาศครึกครื้น ช่วงทำหนัง ไม่คิดจะไปประกอบอาชีพอื่นเลย เพราะสนุก พ่อเริ่มเห็นลู่ทางจากการบริหารหนังที่นางเลิ้งก่อน ที่บ้านก็ขายอาหารมาก่อน หน้าโรงหนังบางทีต้องทำหุ่นโชว์ เพื่อเรียกคน" เครื่องฉายหนัง โรงภาพยนตร์สามย่านรามา การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสายหนังภาคตะวันออก ก่อนหน้าที่จะมาทำโรงหนังสามย่านนั้นคุณสมพงษ์ได้เริ่มต้นการทำโรงหนังที่เมืองระยองก่อนคือ "โรงหนังเทศบันเทิงระยอง" ปัจจุบันกลายเป็นหอนาฬิกาเมืองระยองไปแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้ทำโรงหนังบูรพาเธียเตอร์ที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกถือว่าเจ้านี้ก็เป็นแหล่งผลิตหรือให้บริการเกี่ยวกับกิจการหนังให้กับภาคตะวันออกทุกโรง จัดจองตั๋วหนัง ทั้งจัดซื้อเข้ามาและทางบริษัทเองก็ได้มาฝากให้โรงหนังบริหารงานเอง ก่อนหน้านั้นทางคุณสมพงษ์ทำโรงหนังอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อมีพรรคพวกเข้าไปทำธุรกิจที่ระยองซึ่งเป็นนักธุรกิจที่ขายเครื่องฉายหนังแต่ไม่มีความรู้ทางด้านการบริหารโรงหนังจึงชวนทางคุณสมพงษ์เข้าไปช่วยบริหาร หลังจากนั้นจึงได้ขยายกิจการออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ  การทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่บ้านฉางของคุณสมพงษ์ถือว่าเป็นพื้นที่แรกๆ ที่เริ่มเติบโตโดยการเข้ามาทำธุรกิจหนังสายภาคตะวันออกอย่างเต็มตัว เพราะในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นอู่ตะเภาเป็นฐานทัพของทหารอเมริกัน จึงคิดไปลงทุนในบ้านฉางเพราะถือว่าเป็นทำเลดี มีความเจริญ และได้บริหารงานโรงหนังหลายแห่งในเวลาเดียวกันเพราะถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ ขณะนั้นบ้านฉางมีโรงหนังถึง ๒ แห่ง คือบ้านฉางรามาและบูรพาเธียเตอร์ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๑ ฉายทั้งหนังไทยและหนังฝรั่ง และปิดไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒   คุณสงพงษ์เล่าว่า "สมัยคุณพ่อต้องเรียนรู้งานเองจากผู้ที่ทำธุรกิจโรงหนัง เพราะสมัยก่อนมีการหวงวิชา ไม่เหมือนสมัยนี้ที่มีการถ่ายทอดให้เกิดการพัฒนา ผมนี่กว่าจะฉายหนังเป็นต้องเรียนรู้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปัดกวาดเช็ดถู จึงจะสามารถฉายหนังได้ การติดต่อกับบริษัทหนังต่างประเทศต่าง ๆ มีการตั้งสำนักงานหนังอยู่ตึกอาคเนย์แถววังบูรพาหลายบริษัท เราก็ไปเช่าม้วนฟิล์มเขามา พอไปตั้งหลักที่ระยองคนก็ให้ความเชื่อถือเรา ช่วงที่อเมริกันอยู่เราก็อยู่กันที่ระยองเลย เพราะบ้านฉางอยู่ใกล้อู่ตะเภามากกว่า"   นอกจากที่ระยองแล้ว ยังรวมถึงโรงหนังดาราที่จังหวัดตราด คุณสมพงษ์ถือว่าเป็นผู้ไปบุกเบิกก็ว่าได้ โดยการเข้าไปช่วยช่วงเริ่มสร้างก่อนจะไปทำโรงหนังที่ระยอง  การทำหนังนั้นไม่สามารถไปทำธุรกิจต่างโซนได้   สู่ยุคอำลาโรงหนัง Stand alone โรงหนังสามย่านรามาปิดตัวมาราวยี่สิบกว่าปีแล้ว เกิดจากการเติบโตของสื่อสารพัดชนิดทั้งวีดีโอ ทีวีที่เข้าถึงคนได้ถึงในบ้าน รวมทั้งต้นทุนการทำโรงภาพยนต์ที่มีราคาสูง หลังจากการปิดตัวไปของสามย่านรามาแล้วคุณสงพงษ์เปลี่ยนแนวการทำธุรกิจโดยการไปซื้อที่เพื่อทำสวนแถวชานเมืองซึ่งห่างจากเมืองแกลงประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และผันตัวมาประกอบอาชีพเกษตรกรและนักธุรกิจผู้ผลิตอุปกรณ์การเกษตร ในนามบริษัท อีสเทิร์น อกรีเท็ค จำกัด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เด่นคือ Rain Drop และมินิสปริงเกอร์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่บริเวณด้านหลังโรงหนังสามย่านรามาที่เมืองแกลง แม้ทุกวันนี้อำเภอแกลงก็ยังมีโรงหนัง   Cineplex ที่ทันสมัยอยู่ที่ห้างโลตัสแกลง แต่โรงภาพยนต์อันเป็นตำนานของท้องถิ่นก็ไม่สามารถกลับมาได้อีกเลย   ตึกเก่าโรงหนังยังเด่นตระหง่านอยู่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองแกลง ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรไปมากกว่าการจอดรถ และเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับให้คนรุ่นเก่ามาย้อนวันวานหวนคิดถึงความรุ่งเรืองวัยหนุ่มสาวที่เคยเพลิดเพลินอยู่กับ “สามย่านรามา” คุณสมพงษ์  โชติวรรณ ผู้ประกอบธุรกิจสายหนังทางภาคตะวันออก อ้างอิง ธนาทิพ ฉัตรภูติ.  ตำนานโรงหนัง. สำนักพิมพ์เวลาดี ในนามบริษัท แปลน สารา จำกัด. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๗ สนธยา ทรัพย์เย็น และโมรีมาตย์ ระเด่นอาหมัด. สวรรค์ ๓๕ มม. : เสน่ห์วิกหนังเมืองสยาม. ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส), ๒๕๕๗ เทศบาลตำบลเมืองแกลง.  เมืองแกลงของเราเมืองเก่าของบรรพชน. จังหวัดระยอง, ๒๕๔๖ เทศบาลตำบลเมืองแกลง. ๑๐๐ ปีบ้านตลาดสามย่าน.  จังหวัดระยอง, ๒๕๕๒ ขอขอบคุณ คุณลำใย วงศ์พิทักษ์, คุณสมพงษ์  โชติวรรณ, คุณสันติชัย ตังสวานิช นายกเทศมนตรีตำบลเมืองแกลง จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • ศาลเจ้ายายหอมเลี้ยงเป็ด กับตำนานพื้นบ้านที่โบราณสถาน จ.นครปฐม

    เผยแพร่ครั้ง 1 มิ.ย. 2561 พระประโทณเจดีย์ เมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำ เจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน โดยมีลำน้ำสายต่าง ๆ ที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำทั้งสองสายและไหลไปออกทะเลอ่าวไทยทางทิศใต้ ลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองบางแก้ว และ คลองบางแขม ทั้งสองลำน้ำไหลมาจากแม่น้ำแม่กลองแล้วไหลมาจรดที่แม่น้ำท่าจีน  ลักษณะผังเมืองของเมืองนครปฐมโบราณเป็นเมืองสี่เหลี่ยม มุมมนขนาดใหญ่ ตัวเมืองมีความกว้างประมาณ ๒ กิโลเมตรและยาวประมาณ ๓.๖ กิโลเมตร ไม่มีคันดินแต่มีคลองคูเมืองล้อมรอบ  โดยเมืองนครปฐมโบราณพบโบราณสถาน และหลักฐานทางโบราณวัตถุในสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันผู้ที่ผ่านมาจังหวัดนครปฐมก็คงไม่พลาดที่จะไปเยี่ยม ชม “พระปฐมเจดีย์” เจดีย์องค์ใหญ่ที่เป็นศาสนสถานสำคัญและโดดเด่นของจังหวัดนครปฐม สร้างขึ้นครอบพระเจดีย์องค์เดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   อย่างไรก็ตาม โบราณสถานที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ที่อยู่ไม่ไกลกับพระปฐมเจดีย์มากนัก คือ “เจดีย์พระประโทณ” พระมหาเจดีย์กลางเมืองโบราณในยุคทวารวดี  ในบริเวณพระประโทณเจดีย์นี้มีศาลที่มีตุ๊กตาเป็ดถวายแก้บนอยู่จานวนมาก มีทั้งแบบปูนปั้นกระเบื้องแทนที่จะเป็นตุ๊กตา ไก่หรือหุ่นทหารที่นำมาแก้บนตามที่เห็นบ่อยๆ ตามศาลในหลายที่ ศาลแห่งนี้คือ “ศาลยายหอม” ที่เกี่ยวข้องกับ “ตำนานพระยากง-พระยาพาน” ตำนานท้องถิ่นที่พูดถึงการสร้างพระปฐมเจดีย์และเจดีย์พระประโทณและชื่อบ้านนามสถานที่สำคัญของเมืองนครปฐมโบราณ มีจดไว้เป็นลายลักษณ์ ๓ ฉบับ คือฉบับพิมพ์อยู่ในพงศาวดารเหนือ น่าจะเป็นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดเพราะเป็นเอกสารสมัยอยุธยา และอีก ๒ ฉบับ อยู่ในหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  (ขำ บุนนาค) ได้มาจากตาปะขาวรอตฉบับหนึ่งกับอีกฉบับหนึ่งได้มาจาก พระยาราชสัมภารากร แต่เป็นเรื่องเดียวกัน เจ้าพระยาทิพากรวงศ์จึงคัดรวมขึ้นเป็นเรื่องเดียวกัน  พระยากงเป็นผู้ครองเมืองนครชัยศรี (บางแหล่งบอกว่าเป็น เมืองกาญจนบุรี) เป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถปกครองบ้านเมืองและประเทศราชอย่างมีความสุข พระองค์และพระอัครมเหสีได้บำเพ็ญทานและรักษาศีลอย่างหนักแล้วตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอบุตรไว้สืบสันตติวงศ์ ต่อมาพระอัครมเหสีได้ตั้งครรภ์และคลอดพระโอรสรูปงามผิวพรรณดี  ซึ่งในพิธีคลอดนั้นได้นำพานไปรองรับพระโอรสแต่ศีรษะของ พระโอรสได้กระทบกับขอบพานทอง เกิดเหตุอัศจรรย์พานทองที่แข็งแรงนั้นบุบยุบลงไป โหรจึงกราบทูลว่าพระราชกุมารนี้มีบุญมากนัก ใจก็ฉกรรจ์ และจะได้เป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระองค์ แต่ในอนาคตพระโอรสองค์นี้จะทำ “ปิตุฆาต”    พระยากงปริวิตกในคาทำนาย จึงมีคำสั่งให้เอาพระกุมารไปฆ่าเสีย ฝ่ายอัครมเหสีได้ติดสินบนเพชฌฆาตให้ฆ่าเด็กทารกอื่นแทน แล้วให้นำพระโอรสของนางไปให้ “ยายหอม” หญิงชาวบ้านผู้มีอาชีพเลี้ยงเป็ดเป็นคนเลี้ยงดู พร้อมให้ตั้งชื่อว่า “พานทอง” ยายหอมซึ่งได้รับคำสั่งของอัครมเหสีจากเพชฌฆาตก็ทำตามด้วยความรักและความเมตตาในชะตากรรมของพระโอรสน้อยผู้น่าสงสาร เลี้ยงดูพระโอรส อย่างดีเหมือนกับลูกของตนเองและได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระอุปัชฌาย์ผู้เก่งกาจในแถบนั้น จนเมื่อครั้นเจริญวัยใหญ่ขึ้น ยายหอมจึงได้เอาพานทองไปให้พระยาราชบุรีเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม (บาง แหล่งบอกสุโขทัย) และได้รับราชการอยู่กับพระยาราชบุรีจนมีความดีความชอบมากมาย จนได้ขึ้นเป็นอุปราชเมืองราชบุรี   ในปีหนึ่งของเมืองราชบุรีเกิดฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนัก ไม่มีเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองที่จะส่งให้กับนครชัยศรี พระอุปราชพานทองเห็นว่าปีนี้ไม่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับเมืองนครชัยศรี เพราะบ้านเมืองของเรากำลังลำบากมาก พระยาราชบุรีบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ได้เด็ดขาด  พระอุปราชทรงยืนยันและจะขอต่อสู้และปกป้องเมืองราชบุรีเองหากพระยากงยกทัพมา ฝ่ายพระยากงทราบดังนั้นก็พิโรธจัด จึงสั่งยกทัพบุกตีเมืองราชบุรีที่แข็งขืนไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการและไม่ยอมอ่อนน้อม ยกทัพใหญ่มาตีเมือง ราชบุรีด้วยพระองค์เอง พระอุปราชพานทองจึงอาสายกทัพออกมาสู้ศึก ออกมาสู้กันอยู่ที่แขวงเมืองนครชัยศรี และทั้งคู่ได้กระทำยุทธหัตถี รบกันบนหลังช้าง พระยากงพลาดท่าเสียทีถูกอุปราชพานทองฟันพระศอด้วยของ้าวขาดสิ้นพระชนม์บนหลังช้างศึกกลางสนามรบ ที่อันนั้นจึงเรียกว่า “ถนนขาด” มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันอยู่ตำบลถนนขาดทางที่จะไปเนินโบราณสถานดอนยายหอมทางใต้ของเมืองโบราณนครปฐม  เมืองนครชัยศรีจึงต้องตกเป็นเมืองขึ้นของราชบุรี  พระยาราชบุรีจึงยกเมืองนครชัยศรีให้พระองค์ปกครอง ซึ่งทรัพย์สมบัติ ข้าทาส บาทบริจาริกา สนมนางใน และพระมเหสีของเมืองนครชัยศรี ก็ต้องตกเป็นสมบัติของพระองค์โดยปริยาย ในวันหนึ่งพระยาพานมีพระประสงค์จะเข้าไปบรรทมกับพระมเหสีของพระยากง เทพยดาจึงนิรมิตรเป็นสัตว์ บางแหล่งบอกว่าเป็นแพะ บางแหล่งบอกเป็นวิฬาร์แม่ลูกอ่อนนอนขวางบันไดปราสาทอยู่  เมื่อพระยาพานเดินข้ามสัตว์แม่ลูกไป ลูกสัตว์จึงว่ากับแม่ว่า ท่านเห็นเราเป็นสัตว์เดรัจฉานท่านจึงข้ามเราไป แม่สัตว์จึงว่ากับลูกว่านับประสาอะไรกับเราเป็นสัตว์เดรัจฉาน “แต่มารดาของท่าน ท่านยังจะเอาเป็นเมีย” พระยาพานได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความสงสัย เมื่อเข้าไปถึงห้องพระมเหสีจึงตั้งสัจอธิษฐาน หากพระอัครมเหสีเป็นมารดาของพระองค์จริงก็ให้ปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออกมาจากถันยุคลให้เห็น ในระหว่างที่สนทนากันอยู่นั้นน้ำนมจากถันของพระมเหสีก็ได้ไหลซึมและไหลย้อยออกมานอกเสื้อทรงของพระนาง พระยาพานทองเห็นดังนั้นจึงรีบลุกจากพระที่นั่งลงมานั่งกับพื้นแล้วกันแสงแล้วก้มกราบพระมารดาแนบพื้น พระมารดาตกพระทัยแต่พอจะอนุมานได้บ้างว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะคำทำนายโหรบอกว่าใครคือคนที่จะฆ่าพระยากง ทั้งสองแม่ลูกจึงได้สอบถามและบอกเรื่องราวที่มาที่ไปของกันและกัน   พระยาพานจึงโกรธยายหอมที่รู้เรื่องทั้งหมดแต่ไม่ยอมบอก จึงเป็นเหตุกระทำปิตุฆาต จึงจับยายหอมฆ่าทิ้งเสีย ยายหอมเมื่อจะตายนั้นก็รำเย้ยให้ ครั้นตายแล้วแร้งลงกินศพยายหอม คนจึงเรียกที่นั้นว่าอีรำท่าแร้ง บ้านยายหอมจึงเรียกว่า “โคกยายหอม” มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันคือ ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม ชะตากรรมยายหอมผู้ซื่อสัตย์ต้องมาจบชีวิตลง คนทั้งปวงจึงเรียกพระยาพานทองว่า “พระยาพาล” ด้วยเหตุฆ่าบิดากับยายหอมผู้มีพระคุณ ศาลยายหอมที่อยู่ในบริเวณวัดดอนยายหอม ฝ่ายพระยาพานเมื่อพระทัยเย็นลงแล้ว ก็พิจารณาใคร่ครวญเรื่องราวต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้ง เมื่อได้สติพระยาพานเสียพระทัยที่พระองค์ได้ทำกรรมอันหนักหนาและใหญ่หลวงต่อผู้มีพระคุณถึงสองท่าน ไม่เป็นอันกินอันนอนด้วยเกรงกลัวในบาปอันมหันต์นี้ยิ่งนัก จึงประชุมพระอรหันต์แลสงฆ์ทั้งปวง ว่าจะทำกุศลสิ่งใดกรรมนั้นจะเบาบางลงได้บ้าง พระอรหันต์จึงว่าให้สร้างพระเจดีย์สูงใหญ่เท่ากับนกเขาเหิน ถวายเป็นพุทธบูชาเพื่ออุทิศบุญให้กับพระยากงพระบิดา แล้วสร้างพระเจดีย์ใหญ่อีกองค์อุทิศให้ยายหอมก็จะทำให้ได้บุญกุศลมาก และกรรมหนักนั้นจะได้เบาบางลงบ้าง   หนังสือบางแห่งว่าพระอรหันต์ที่มาประชุมนั้นท่านชื่อพระคิริมานนท์ ชื่อพระองคุลิมาร และที่ประชุมพระอรหันต์นั้นจึงเรียกว่า “ธรรมศาลา” มาจนถึงทุกวันนี้     ศาลยายหอมที่อยู่ในบริเวณวัดพระประโทณเจดีย์ พระยาพานได้ฟังดังนั้นก็เลื่อมใสศรัทธา จึงดำรัสสั่งให้เสนาบดีคิดการสร้างพระเจดีย์ใหญ่สูงเท่านกเขาเหิน (นกเขาบิน) จึงได้ก่อสร้างพระเจดีย์ครอบพระปฐมเจดีย์องค์เก่าให้ใหญ่สวยงาม และสูงเท่ากับนกเขาเหินเพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับพระบิดาคือพระยากง และ ได้สร้างพระประโทณเจดีย์อย่างสวยงามและใหญ่โตอีกแห่งหนึ่ง เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับยายหอมผู้เป็นแม่เลี้ยงของพระยาพาน   ปัจจุบันที่วัดพระประโทณเจดีย์ มี “ศาลยายหอม” ที่อยู่ข้าง กันกับเจดีย์พระประโทณ ภายในศาลมีรูปปั้นยายหอมกับเด็ก และจะพบผู้คนที่ศรัทธานำตุ๊กตารูปปั้นเป็ดมาถวายเป็นจำนวนมาก   สาเหตุที่นิยมนำเป็ดมาเป็นของถวายก็ไม่มีอะไรซับซ้อน มากกว่าในตำนาน ที่ว่า “ยายหอมมีอาชีพเลี้ยงเป็ด” ทั้งนี้ก็เพื่อความศรัทธาและนำมาแก้บนสำหรับผู้ที่มาขอกับศาลยายหอม  อย่างไรก็ตามศาลยายหอมยังมีอีกที่หนึ่งคือที่ “เนินพระ” ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม ที่ห่างจากกันประมาณ ๘-๙ กิโลเมตร ชาวบ้าน เรียกว่า “วัดโคกยายหอม” ที่เชื่อกันว่ายายหอมผู้เลี้ยงพระยาพานตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ตามตำนาน และที่แห่งนี้ก็เป็นแหล่งโบราณสถาน สำคัญอีกแห่งหนึ่ง  ศาลยายหอมข้างพระประโทณเจดีย์จึงมีที่มาจากตำนานท้องถิ่นประจำเมืองนครปฐมโบราณนั่นเอง พชรพงษ์ พุฒซ้อน อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • สวนเมืองบางกอก

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ย. 2560 ตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ [Young Chao Phraya Delta] เป็นต้นมา การตั้งถิ่นฐานของชุมชนต่าง ๆ ตั้งแต่ลัดเกร็ดน้อย ลัดเมืองนนทบุรี จนถึงลัดเมืองบางกอกมักอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนี้เต็มไปด้วยพื้นที่เรือกสวนมากกว่าพื้นที่ทำนา การทำสวนผลไม้ซึ่งต้องอาศัยภูมิปัญญาสะสมในการตั้งข้อสังเกตพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกระแสน้ำขึ้นน้ำลงและผืนดินที่ต้องอาศัย "ระบบน้ำแบบลักจืดลักเค็ม" หมายถึงอาศัยระบบนิเวศแบบน้ำกร่อยและน้ำจืดที่ต้องพอดีกันเพื่อให้พืชพันธุ์ได้ปุ๋ยจากตะกอนน้ำพัดพาโดยธรรมชาติและน้ำกร่อยที่ดันเข้ามาจากชายฝั่งทะเล อันเป็นระบบนิเวศธรรมชาติที่ผู้คนสามารถปรับตัวได้และน้ำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตอยู่อาศัยมาตลอดโดยไม่จำเป็นต้องสร้างทำนบหรือเขื่อนกั้นระบบนิเวศแบบผสมผสานนี้ดังเช่นในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปด้วยเรือกสวนผลไม้ที่อยู่ตามลำคลองสายต่าง ๆ เรียงขนานแยกจากแนวลำน้ำสายใหญ่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เมื่อลึกเข้าไปตามลำน้ำจากสวนผลไม้ก็เปลี่ยนเป็นไร่นาปลูกข้าว โดยแบ่งพื้นที่กันอย่างชัดเจน โดยทางตะวันออกของพื้นที่เป็นดินตะกอนชุดธนบุรี ซึ่งเป็นดินที่เหมาะแก่การทำสวน ทำไร่ ส่วนด้านตะวันตกเป็นดินชุดบางเลนและบางกอก ซึ่งเหมาะแก่การทำนามีการขุดคลองและคลองธรรมชาติเป็นเครือข่ายหนาแน่น ทำให้เคยเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ   อย่างไรก็ตาม รัฐไม่มีนโยบายควบคุมการใช้พื้นที่เฉพาะที่เหมาะสมจนทำให้พื้นที่สวนและนากลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา การตัดถนนหนทางสายต่าง ๆ รุกเข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นดี หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่และหรูหราเกิดขึ้นมากมาย บริเวณนี้จึงกลายเป็นแหล่งที่พักอาศัยและเปลี่ยนจาก ที่นา ที่สวน ซึ่งมีธรรมชาติของดินอันอุดมสมบูรณ์ไปอย่างสิ้นเชิง การพรรณนาถึงสภาพภูมิศาสตร์และภูมิวัฒนธรรมของคนสยามในเอกสารของชาวตะวันตกที่เข้ามาเนื่องจากเจริญสัมพันธไมตรีและเพื่อการค้า เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นภาพลายเส้นที่วาดอย่างละเอียดและพรรณนาตามวิชาธรรมชาติวิทยา อธิบายลักษณะของต้นไม้และผลไม้เมืองร้อน เช่น ต้นหมาก กล้วย ขนุน มะพร้าว มะม่วง สับปะรด เงาะ เป็นต้น ภาพลายเส้นวัดและบ้านสวนริมคลองที่พบได้ทั่วไปทางฝั่งธนบุรีช่วงต้นกรุงเทพฯ ในประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยามที่ปรากฏในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดย ตุรแปง บันทึกไว้กล่าวถึง ของสวน ซึ่งเป็นผลไม้อันหลากหลายมากชนิดทั้งกล่าวด้วยว่า ผลไม้ชนิดเลิศที่คนสยามชอบมากที่สุดคือทุเรียน และนับว่าคงเป็นที่นิยมกันมาจนถึงทุกวันนี้อย่างแน่นอน ว่า  พลู หมาก มะพร้าว ส้ม (มีราว ๓๐ ชนิด แต่ส้มแก้วรสดีที่สุด เป็นส้มผลโตและมีจุกเปลือกเขียว) ทุเรียน (คนสยามชอบผลไม้นี้มาก เหลือก็เอามาทำทุเรียนกวน) ขนุน มังคุด เงาะ มะม่วงหิมพานต์ มะเดื่อ น้อยหน่า น้อยโหน่ง ฝรั่ง มะละกอ กล้วย มะขาม พริกไทย อ้อย สับประรด มะม่วง   ข้อสังเกตจากการผจญภัยของเฟอร์ดินัน เมนเดซ ปินโต ที่เดินทางเข้ามาสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวชื่นชมผลไม้ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาว่า  ผลไม้และพืชผักคุณภาพดีกว่าผลไม้ที่เบงกอลมาก นอกจากนั้น ก็มีมังคุดและทุเรียน ซึ่งมีรสชวนรับประทานยิ่งนัก ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของผลไม้ต้องเริ่มจากเมษายนถึงปลายเดือนกรกฎาคม มีส้มผลงามรสดีมากมายที่บรรจุในตะกร้าใบเล็ก มีลิ้นจี่ แต่พืชผักของสยามนั้นดูจะมีคุณภาพด้อยกว่าผลไม้ และไม่ได้รับการดูแลบำรุงเท่าที่ควร และอาหารนั้น ชาวจีนเป็นผู้นำในการผลิต เช่น เลี้ยงหมู เป็ด ไก่  ในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๔ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่เดินทางเข้าไปภายในคลองสายในตามสวนฝั่งธนบุรีที่สามารถเดินทางไปออกท่าจีน-แม่กลองและเพชรบุรีได้ ก็พบว่าสองฝั่งคลองแน่นขนัดไปด้วยเรือกสวนพรรณไม้นานาชนิดที่เขียวขจีและหอมหวน อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่รอบ ๆ กรุงเทพฯ ที่มีผลไม้รสเยี่ยมและมีหลากชนิด ดังบันทึกของนักเดินทางชาวอังกฤษ เฟรเดอริก อาร์เธอร์ นีล  ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๔   “เมื่อเรามาถึงคุ้งที่สองในแม่น้ำนั้น สองฝั่งแม่น้ำก็มีแต่สวนหมากเต็มไปหมด มีกลิ่นหอมหวานของดอกไม้ตลบ ขณะที่เราผ่านมาตามลำน้ำนับเป็นไมล์” และคณะทูตจากอังกฤษที่เข้ามาในช่วงต้นกรุงเทพฯ และ เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด และตามลำดับว่า “ผลไม้ของสยามหรืออย่างน้อยก็โดยบริเวณรอบ ๆ กรุงเทพฯ เป็นเยี่ยมและมีหลากชนิด”   สมัยก่อนมีคำกล่าวถึง สวนใน-สวนนอก “สวนใน” หมายถึงสวนตามลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่นนทบุรี ธนบุรีหรือบางกอก ลงไปจนพระประแดง ส่วน “สวนนอก” หมายถึง สวนตามลำน้ำแม่กลอง เช่นที่บางช้าง (สมุทรสงคราม) โดยมีคำเรียกให้คล้องจองกันว่า “บางช้างสวนนอกบางกอกสวนใน” หรือ “สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง” “สวนในบางกอก” ผู้คนทั้งในท้องถิ่นยังแบ่งเรียกกันเป็น “บางบน” กับ “บางล่าง” ซึ่ง “บางบน” เป็นชื่อเรียกเรือกสวนกลุ่มที่อยู่ในคลองบางกอกน้อยหรือจากปากคลองบางกอกน้อยขึ้นไป ซึ่งอยู่ตอนบนหรือทางทิศเหนือของลำน้ำเจ้าพระยา  ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของบางบน ได้แก่ ทุเรียน เงาะ กระท้อน มังคุด ละมุด ส่วน “บางล่าง” เป็นชื่อเรียกเรือกสวนกลุ่มที่อยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ลงไปทางราษฎร์บูรณะหรือแถบดาวคะนองต่อบางขุนเทียน หรือซึ่งเป็นทางใต้ของลำน้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ ไม้ผลที่มีชื่อเสียงของบางล่าง ได้แก่ ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน ส้มโอ หมากพลู กล้วยหอมทอง สวนฝั่งธนฯ เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติที่ยั่งยืนของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโดยทั่วไป สวนเก่าแกดั้งเดิมในฝั่งธนบุรี เป็นสวนผสมทั้งสิ้น ใช้ระบบการปลูกพืชที่มีความสูงต่างระดับกัน โดยคัดเลือกพืชหลากหลายชนิดที่แตกต่างกันในด้านต่าง ๆ มาปลูกรวมไว้ในสวนขนัดเดียวกันอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือการยกร่องและทำคันดินกั้นโดยรอบขนัด พื้นที่แต่ละ “ขนัด” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถือทางน้ำเป็นหลักใหญ่จึงมักจะมีด้านใดด้านหนึ่งติดคลอง รอบสวนจะมีคันดินหรือถนนล้อมรอบเขตสวนของตนซึ่งถือว่าเป็นทางเดินสาธารณะ สามารถเดินผ่านสวนทะลุไปได้ตลอด คันดินนี้ช่วยป้องกันน้ำท่วม แต่ไม่ป้องกันน้ำเค็มที่ซึมขึ้นมาจากใต้ดิน พืชที่ปลูกในแต่ละสวนแต่ละขนัดมีหลายชนิดต่างระดับกันบางสวนเลี้ยงปลาในท้องร่องเช่น ปลานิล ปลาจีน ปลาตะเพียน ปลาแรด เพื่อช่วยกำจัดแหนและวัชพืชน้ำ สร้างสมดุลทางธรรมชาติ สามารถนำมาบริโภคในครอบครัวและนำออกขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างสวนทุเรียนที่บางระมาดในอดีตใช้พื้นที่อกร่องปลูกทุเรียนเป็นหลัก ริมร่องสองข้างปลูกทองหลาง ซึ่งเป็นพืชโตเร็วให้ร่มเงากับทุเรียนได้ดี และทำให้ดินเย็น ชื้น ช่วยยึดดินไม่ให้ร่องพังทลายและยังเป็นค้างให้พลูเกาะ ใบทองหลางซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วเมื่อหล่นลงในท้องร่องเน่าสลายแล้วกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี ใต้ร่มเงาของทองหลางปลูกข่า ตะไคร้ บนคันล้อมสวนปลูกมะพร้าว มะม่วง กล้วย ซึ่งล้วนเป็นพืชที่ขึ้นง่ายช่วยบังลมพายุ เป็นระบบที่เกื้อกูลพืชโตช้าอย่างทุเรียนและยังใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ชาวสวนมีประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการทำสวน เช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ไว้ที่สวน เมื่อเก็บผลผลิตแล้วครั้งหนึ่ง ชาวสวนจะคัดทุเรียนลูกที่ดีถวาย ๑ ลูก และบนบานศาลกล่าวให้ผลผลิตในปีต่อไปดกกว่าเดิม เป็นการหาที่พึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเสี่ยงของชาวสวนอย่างเห็นได้ชัด   ภาพลายเส้นภาพต้นไม้และผลไม้จากเอกสารของเดอ ลาลูแบร์ ที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ผลไม้ดารดาษจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ตาม พื้นที่สวนผลไม้เขตฝั่งธนบุรีและนนทบุรีก็ยังมีสวนที่รุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ผลไม้หลักที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือ ทุเรียน รองลงไปมีส้มเขียวหวานและส้มโอ มังคุด ส่วนพวกสับปะรดมักจะปลูกแซมระหว่างต้นไม้หลัก พวกละมุด มะปราง มะม่วง มะพร้าว มะนาว และกล้วย ก็มักปลูกตามคันสวน เอกสารเก่าก็จะมีเรื่องเกี่ยวทุเรียนเขียนไว้มากมาย เพราะทุเรียนเป็นเสมือนผลไม้ทิพย์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันมากที่สุดและทุเรียนดีมักมีราคาแพง เป็นพืชที่ตลาดนิยม สามารถสร้างรายได้ดีให้แก่ชาวสวน แถวธนบุรี นนทบุรีและกรุงเทพ ฯ เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีก่อน ปลูกทุเรียนกันมากเรียกว่าทุเรียนสวน ถือว่าเป็นทุเรียนที่มีคุณภาพดีและมีราคาค่อนข้างแพง  บันทึกในตำราทำสวนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ไว้ว่า ทุเรียนบางบน ในคลองบางกอกน้อยที่บางผักหนาม และแถบตำบลบางขุนนนท์ บางขุนศรี คลองชักพระ ตลิ่งชัน เป็นทุเรียนดีมีชื่อจำเพาะต้นนั้นพันธุ์นั้น ผลโตงามพูใหญ่สีเนื้อเหลืองแต่หยาบ รสมันมากกว่าหวาน ซื้อขายกันได้ราคา.. ครั้นภายหลังมาในถิ่นบางบนนี้มีน้ำท่วมบ่อย ๆ ต้นทุเรียนทนน้ำไม่ค่อยไหวล้มตายเสียแทบหมด ส่วนทุเรียน บางล่าง เนื้อละเอียดแต่บาง สีเหลืองอ่อนมักจะเป็นสีลาน แต่รสหวานสนิทดีกว่าบางบนคนชอบใจกินมาก จากหนังสือ “พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งไว้ราว พ.ศ.๒๔๒๗ กล่าวถึงชื่อทุเรียนเป็นคำกลอนไว้ถึง ๖๘ พันธุ์  ต่อมามีการขยายพันธุ์และเกิดพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เคยสำรวจพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกอยู่ทั่วไปในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สามารถระบุชื่อพันธุ์ได้ ๑๒๐ พันธุ์ แต่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการค้าประมาณ ๖๐-๘๐ พันธุ์ ซึ่งโดยมากปลูกอยู่ทางฝั่งธนฯ และนนทบุรี เฉพาะในฝั่งธนฯ ที่สำรวจพบขณะนั้น และเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมีประมาณ ๔๐ พันธุ์  สวนทุเรียนหลายขนัดเคยล่มเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. ๒๔๖๐ และ พ.ศ. ๒๔๘๕ มาแล้ว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ น้ำท่วมใหญ่และท่วมสูงติดต่อกันหลายเดือน สวนผลไม้ในเขตกรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี เสียหายอย่างหนักยืนต้นตายเกือบหมดสิ้น จากนั้นจึงมีการปลูกทดแทนขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งแม้จะต้องเสียเวลาบำรุงรักษานับสิบปี แต่เนื่องจากเป็นไม้ผลราคาดี ชาวสวนจึงนิยมปลูกใหม่กันทั่วไป ดังนั้น จึงยังคงมีสวนทุเรียนหลงเหลืออยู่ แต่สันนิษฐานว่าหลังปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มีผู้นำทุเรียนจากที่นี้ไปปลูกยังจันทบุรีอยู่เรื่อย ๆ ต่อมาพันธุ์ดี ๆ เหล่านี้ได้แพร่หลายไปในจังหวัดต่าง ๆ เช่น ตราด ระยอง นครนายก ปราจีนบุรี ความนิยมในการบริโภคทุเรียนสมัยนั้นราว พ.ศ. ๒๕๐๐ นิยมกันที่  ทุเรียนที่มีผลใหญ่ เปลือกบาง เนื้อมาก เมล็ดเล็ก ไม่ฉุนรุนแรง เนื้อสวย ไม่เปียกแฉะ ท้องตลาดนิยมสีนาก (สีเหลืองปนแดงแบบสีจำปา) รองลงไปก็เป็นสีเหลืองแก่ สีเหลือง จนกระทั่งสีลาน (คล้ายสีใบลาน) ตามลำดับ ส่วนลักษณะเนื้อนั้นนิยมเนื้อที่ละเอียด ไม่มีเสี้ยน รสหวานมัน   ความนิยมของตลาดผู้บริโภคทุเรียนปัจจุบัน จะเห็นว่าเหลือเพียงไม่กี่พันธุ์เท่านั้น เช่น พันธุ์หมอนทอง ที่ยังขายได้ราคาดีทั้งในตลาดภายในและภายนอกประเทศ ส่วนพันธุ์ชะนี แม้จะยังเป็นที่นิยมทั่วไป แต่ราคาในตลาดถูกกว่าหมอนทองหลายเท่า ชาวสวนจึงหันไปปลูกหมอนทองมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยเป็นที่นิยม อย่างพันธุ์ก้านยาวกลายเป็นพันธ์หายากและมีราคาแพง ทุเรียนจากบางขุนนนท์ที่กลายเป็นแม่พันธุ์ขยายไปสร้างชื่อเสียง ให้เมืองนนทบุรี นอกจากปลูกด้วยเมล็ด ซึ่งใช้เวลานานชาวสวนทุเรียนใช้วิธีตอนกิ่งปลูก เพาะเมล็ดน้อยลง ก็คงเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ดีและมีคนชอบพันธุ์เก่า ๆ คงสูญหายไป   ในสวนแถบฝั่งธนบุรีพืชพันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นไม้ผลไม้ยืนต้นที่สร้างรายได้ พืชเหล่านี้ปลูกกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกตามชนิดและพันธุ์ต่างๆ ที่สำคัญได้ดังนี้ มะพร้าวใหญ่ (สำหรับแกง)  กระท้อน พันธุ์ทับทิม พันธุ์ล่าหรืออีล่า  มะไฟ พันธุ์ครูถิน พันธุ์ยายเพาะ พันธุ์ไข่เต่า พันธุ์ปุยนุ่น พันธุ์ตาเจือหรือเหรียญทอง พันธุ์น้ำตาลทราย พันธุ์ชะอม  มะม่วง พันธุ์พราหมณ์ขายเมีย พันธุ์เขียวไข่กา พันธุ์เขียวเสวย พันธุ์อกร่อง ชมพู่ พันธุ์สีนาก พันธุ์มะเหมี่ยว พันธุ์แขกดำ พันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์แก้มแหม่ม  ทุเรียน พันธุ์กบแม่เฒ่า พันธุ์ตาขำ พันธุ์ชะนี พันธุ์ขั้วสั้น พันธุ์ก้านยาวพันธุ์  พันธุ์กะเทย           ละมุด พันธุ์สีดา พันธุ์ไข่ห่าน พันธุ์มะกอก ส้ม พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ส้มจี๊ด พันธุ์ส้มโอ กล้วย กล้วยน้ำหว้า กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยตานี กล้วยนาก  รวมทั้งหมาก ปะปราง ขนุน มะกรูด มะนาว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีพืชไม้ป่าทั้งชนิดยืนต้นและชนิดเลื้อยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ชำมะเลียง มะกอกน้ำ จิกน้ำ ตะลิงปลิง มะหวด มะขวิด มะตาด ไทร บอระเพ็ด ฟักข้าว ไผ่ต่าง ๆ ผลไม้ดารดาษจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีคนจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในฝั่งธนบุรียึดอาชีพทำสวน เริ่มแรกเข้ามาถือสวนจากชาวสวนไทยแต่คนจีนมักปลูกพืชที่ขายได้กำไรหรือเป็นพืชเศรษฐกิจตามสมัยนิยม สวนของคนจีนจึงมีทั้งสวนหมาก สวนพลู และสวนผักที่ชาวจีนนิยมปลูกกันพวกหัวไชเท้า ผักกาด พร้อมกับเลี้ยงหมูควบคู่ไปด้วย  ดังเห็นได้จากบันทึกของชาวยุโรปที่เข้ามาบางกอกในสมัยรัชกาลที่ ๓ กล่าวถึงสวนของคนจีนที่อยู่ลึกเข้าไปจากแม่น้ำเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๙ ว่า “มีการทำสวนกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก อาจจะพูดไม่ได้ว่าเป็นสวนที่มีคุณภาพดีเลิศ แต่ทว่าเป็นสวนที่งอกงามดี….มีร่องถั่ว….ผักกาดหอม หัวไชเท้า (หัวผักกาด) ใบพลู และหมาก ซึ่งปลูกกันเป็นส่วนใหญ่ในสวน ชาวสวนอยู่อาศัยในกระต๊อบสกปรกเล็กๆ ภายในอาณาบริเวณไร่สวนของตน มีสุนัขเฝ้าสวนเป็นจำนวนมากและมีเล้าหมูส่งกลิ่นตลบอบอวล” วิธีทำสวนของคนจีนแตกต่างไปจากสวนคนไทย เพราะทำควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ ใช้มูลสัตว์และปลาเน่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ ช่วยทำให้พืชผักงอกงาม ขายได้ราคา ในยุคแรกๆ คนไทยส่วนหนึ่งก็ไม่นิยมกินผักจากสวนของคนจีนเพราะเห็นว่าสกปรก โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่ามีการนำมูลคนไปรดผักและเชื่อเช่นนั้นอยู่เป็นเวลานาน แต่ผักจากสวนของคนจีนเน้นปลูกจำนวนมากและราคาไม่แพง ด้วยความขยันอุตสาหะ สวนผักของคนจีนจึงกลายเป็นพืชผักหลักในการบริโภคในสำหรับอาหารและแทนที่ผักท้องถิ่นที่ออกผลตามฤดูกาลและมีจำนวนหลากหลายกว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลองมหาสวัสดิ์เชื่อมคลองบางกอกน้อยออกแม่น้ำท่าจีน สองฝั่งคลองขุดใหม่ก็เริ่มมีชาวจีนเข้ามาเช่าที่ตั้งรกรากปลูกผักขายทั้ง คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ฯลฯ จนบริเวณริมฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ด้านใต้กลายเป็นพื้นที่ยกร่องทำสวนผักของคนจีน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนแต้จิ๋วเกือบทั้งนั้น และบริเวณนี้เรียกว่า “สวนผัก” มาจนถึงปัจจุบัน การทำสวนของคนจีนให้เกิดรายได้ดี ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ชาวจีนจำนวนหลายพันในเมืองใกล้เคียงกรุงเทพ ฯ ได้พากันไปรับจ้างทำสวนผักและสวนพลู กับเลี้ยงหมู ทำให้การทำสวนและเล้าหมูแพร่หลายยิ่งขึ้น  ในหนังสือ “ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ที่กล่าวถึง “เรื่องสวน” ของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) (พ.ศ.๒๓๙๒-๒๔๖๓) เป็นอดีตอธิบดีกรมพระคลังสวน อธิบดีจัดการกรมภาษีร้อยชักสามที่ปัจจุบันคือกรมศุลกากร ท่านกล่าวถึงการทำสวนว่า  “เป็นสิ่งสำคัญอันสมควรที่จะให้รู้ธรรมชาติของที่แผ่นดิน อันจะได้ขุดร่องยกคันโก่นสร้างที่แผ่นดิน จะได้หว่านเพาะต้นไม้มีผลที่เป็นต้นไม้ยืนนาน และต้นไม้ล้มลุกเพราะหว่านตามฤดูสมัยให้ได้ผลอันดีมีราคามาก และต้องยากลำบากที่จะต้องลงแรงลงทุน และเปลื้องเวลาแต่น้อย ในการประสงค์จะให้ผลดังนี้ มีการอยู่ ๔ อย่างที่ชาวสวนควรจะมีทรงไว้ ความคาดหมายประโยชน์จึงจะเป็นอันสำเร็จได้ คือว่าจะต้องมีทุนคือเงินที่จะได้ออกใช้สอยในสิ่งที่ควรต้องการ ๑ แรงหรือมือเพื่อที่จะได้ทำงานที่ต้องการ ๑ ความรู้ในทางที่ดีที่สุดแห่งการงานที่จะทำ ๑ และความฉลาดเพื่อที่จะได้บัญชาใช้ทุนและแรงที่จะต้องออกทำ ๑ คุณสมบัติ ๔ อย่างนี้มีอยู่ในชาวสวนผู้ใดแล้ว ความมาดหมายที่จะให้เกิดประโยชน์ ก็คงเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง รวมเป็นสิ่งซึ่งเป็นวิชาสำหรับชาวสวนที่ควรต้องศึกษาและประพฤติไปด้วยกัน” อันหมายถึงการทำสวนนั้นจำเป็นต้องใช้ทุนรอนและความอดทนสติปัญญาในการปรับสภาพพื้นดินให้เข้ากับพืชพันธุ์ที่ต้องมีการคัดเลือกและสร้างพันธุ์ใหม่อยู่เสมอ งานทำสวนจึงเป็นงานหนักแต่น่าจะทำให้ชาวสวนนั้นเป็นกลุ่มที่มีรายได้ดีกว่าอาชีพอื่น ๆ หมากเคยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ชาวสวนเป็นอันมากและรัฐก็มีรายได้จากการเก็บอากร สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้แก่รัฐ เช่นเดียวกับพลูซึ่งต้องเคี้ยวคู่กับหมาก ภาษีหมากจึงเข้าอยู่ในอากรสวนใหญ่ที่ปลูกโดยยกร่องสวน โดยมีพิกัดอัตราอากรอย่างเป็นหลักเกณฑ์ ครั้นภายหลังสนธิสัญญาเบาริงก็ปรับปรุงเพิ่มขึ้น เช่น หมากเอก (สูง ๓-๔ วาขึ้นไป) แต่เดิมเสียอากรต้นละ ๕๐ เบี้ย ภายหลังสนธิสัญญาขึ้นเป็น ๑๓๘ เบี้ย และหมากผากรายออกดอกประปรายเคยเสียต้นละ ๔๐ เบี้ย ภายหลังสนธิสัญญาแล้วขึ้นเป็น ๑๒๘ เบี้ย  รายได้จากการเก็บภาษีของชาวสยามนั้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ภาษีอากรที่เรียกเก็บมากที่สุดคือผลิตผลการเกษตรจำพวกหมาก มะพร้าวผลไม้และพืชผักต่าง ๆ มากกว่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ภาษีเหล้าในทุกจังหวัดรวมกัน ภาษีการจับปลา ภาษีซุงและไม้สัก ดังที่พบว่ามีการเก็บภาษีไม้ซุงและไม้สักที่อยู่ในเขตเทือกเขาทางภาคเหนือ ซึ่งยังไม่ได้รายได้มากเท่ากับภาษีจากพืชผลไม้จากการเกษตร อาจจะเป็นเพราะไม้ซุงหรือไม้สักอยู่ในหัวเมืองห่างไกลและใช้ระบบสัมปทานโดยเจ้าผู้ครองนครกับชาวตะวันตก  แม้จะอยู่ในช่วงที่ประเทศสยามในขณะนั้นก้าวเข้าสู่ความทันสมัยใหม่ในการเป็นประเทศสมัยใหม่แล้วก็ตาม ภาษีจากผลิตผลการเกษตรจากหมาก มะพร้าว และผลไม้ยังเป็นอันดับต้น ๆ จะเป็นรองเพียงภาษีโรงเหล้า รายได้ของรัฐจึงพึ่งพาภาษีจากสวนในและสวนนอกตลอดจนพื้นที่ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหม่มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ สิ่งเหล่านี้คือช่วงเวลาก่อนที่การอุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ จะเข้ามาทำกิจการในสยามประเทศ แม่ค้าเรือพายในย่านตลิ่งชันเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๒ บันทึกจากเอกสารทั้งจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยาและเอกสารการเก็บอากรสวนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ในช่วงรัชกาลที่ ๕ ทำให้เห็นความสำคัญของสวนผลไม้ในบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาและสวนผลไม้แถบสมุทรสงครามว่า มีการปลูกไม้ผลที่สำคัญ ๆ คือ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมาก พลูค้างทองหลาง ๗ พันธุ์นี้สามารถเก็บอากรใหญ่ บริเวณใดมีจำนวนไม้ผลชนิดนั้นมากก็เรียกว่าสวนสิ่งนั้น   ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พืชเศรษฐกิจ ๗ ชนิดที่รัฐจัดเข้า อากรสวนใหญ่ คือ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและพลูค้างทองหลาง จะเสียค่าอากรสูงกว่าไม้ล้มลุกซึ่งเสียเป็นอากรสมพัตรสร ที่กำนันจะเป็นผู้เดินสำรวจนับจำนวนต้นผลไม้ ซึ่งแล้วแต่จะกำหนดว่าต้นไม้ชนิดใดเก็บเท่าใด แต่ต่อมามีปัญหาการนับต้นไม้ที่ตายไปบ้างมากและชาวสวนก็ไม่ยอมเสียอากร ต่อมารัฐได้ตราพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายรัษฎากร พ.ศ. ๒๔๘๑ ขึ้นมา จึงได้ยกเลิกอากรสมพัตรสรไป ความผันแปรของการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาจนไปถึงเขื่อนภูมิพล รวมทั้งการขุดลอกสันดอนปากน้ำและนโยบายการชลประทานแบบแยกส่วนระหว่างบริเวณที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม ทำให้รูปแบบน้ำแบบลักจืดลักเค็มด้อยไปเพราะเป็นการบิดเบือนธรรมชาติและรูปแบบการใช้น้ำในท้องถิ่นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหม่ ทำให้สวนทุเรียนและสวนผลไม้ทรุดโทรมไปตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการใช้ที่ดินและน้ำในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาและการขยายตัวของมหานคร เกิดขึ้นจากโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทันสมัยจนเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลกระทบต่อชุมชนดั้งเดิมจึงเกิดขึ้นอย่างถาโถมและรุนแรงมากเสียจนการแก้ปัญหาเฉพาะสวนเฉพาะตัวเช่นแต่ก่อนก็ไม่สามารถต้านทานได้ ชาวสวนชาวสยามที่เคยมีชีวิตอยู่อย่างสงบร่มเย็นในอดีต และเมืองได้เข้ามารุกไล่ จนชาวสวนดั้งเดิมต้องมีชีวิต เงียบ ๆ ในสวนลึก ๆ ห่างจากถนนใหญ่และชาวสวนบางคน บางตระกูลก็ต้องละเลิกหายหน้าไปเนื่องจากการสร้างถนน สวนที่กลายเป็นเมืองในปัจจุบันนอกจากจะหาทางออกเรื่องแก้ไขสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้แล้ว ยังทำได้เพียงพยุงความรู้สึกของการเป็นคนริมน้ำและใช้ชีวิตท่ามกลางต้นไม้และผืนดินไว้เท่าที่การท่องเที่ยวที่สร้างตลาดน้ำหรือตลาดบกขึ้นมาใหม่จะทำได้ ทั้งที่นา สวนผลไม้และสวนผัก ถือเป็นเพียงเรื่องราวติดที่ของอดีตที่เคยรุ่งเรืองในการเป็นพื้นที่ซึ่งผลิตผลไม้รสชาติดีที่สุดแห่งหนึ่ง หากผู้ใดเคยไปท่องเที่ยวในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำต่าง ๆ ในเขตร้อน โดยเฉพาะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในเวียดนามก็พอจะมองเห็นว่าพืชผัก ผลไม้ต่าง ๆ ล้วนมีพันธุ์ใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่รสชาติอันเนื่องมาจากความชำนาญที่สั่งสมในการคัดเลือกสายพันธุ์และสร้างสายพันธุ์ใหม่ของชาวสวนที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจะเรียกว่าภูมิปัญญาก็ได้ การสั่งสมและการถ่ายทอดนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาอันรวดเร็วต้องศึกษาทดลองบางทีอาจจะหลายชั่วคน ชาวสวนของเราถูกบังคับโดยปริยายให้ละทิ้งสิ่งเหล่านี้ไป และนำเอาถนนสายใหญ่ตึกรามบ้านช่องสวยสง่าใหญ่โตและสนามหญ้าหน้าบ้านเข้ามาแทนที่ บทสรุปก็คือ เราละทิ้งมรดกที่มีค่าไว้เบื้องหลังแต่กลับถูกยัดเยียดโครงสร้างทางกายภาพและชีวิตวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่ฉาบฉวยและทำลายพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหม่ [Young Delta] มาแทนที่  วลัยลักษณ์ ทรงศิริ   อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • มรดกทางวัฒนธรรมจากวัดญวณ สะพานขาว

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2560 เครื่องกระดาษกงเต๊ก  “เล็กวัดญวน” “กงเต๊ก” เป็นพิธีกรรมนำเครื่องกระดาษจำลองสิ่งของเครื่อง ใช้ต่าง ๆ มาเผาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แสดงให้เห็นถึง ความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษให้ได้มีความเป็นอยู่ ที่สุขสบายตามคติความเชื่อในเรื่องของโลกหลังความตาย  คำว่า “กง” หมายถึงการกระทำที่ดีงามและเป็นประโยชน์  ส่วน “เต๊ก” หมายถึงบุญหรือกุศล ความเชื่อการประกอบพิธีกรรม ดังกล่าวนี้เป็นความเชื่อที่พบทั้งในวัฒนธรรมญวนและจีน ทุกวันนี้วัดญวน สะพานขาว ยังมีการสืบทอดช่างฝีมือแต่ ครั้งโบราณที่เคยมีช่างชาวญวนทำเครื่องกงเต๊กหลวงในพระราชพิธี สืบทอดส่งต่อให้คนแถบวัดญวนจนกลายเป็นช่างทำกงเต๊กที่มีชื่อเสียง ในระดับประเทศที่รู้จักกันในนาม “บ้านกระดาษ เล็ก วัดญวน สะพาน ขาว” รับทำทั้งกงเต๊กหลวงให้ตั้งแต่พิธีกรรมของเจ้านาย ราชวงศ์ชั้น สูงจนถึงกงเต๊กท่ัวไปหรือแบบชาวบ้านท่ียังคงรักษาขนบธรรมเนียมเดิมไว้อยู่ โดยการจำลองเรื่องราว ที่อยู่อาศัย กิจการ สิ่งของอัน เป็นที่รักของผู้ล่วงลับ หรือจินตนาการอาคารบ้านเรือนที่ใหญ่โตเน้น ความสะดวกสบาย โดยเชื่อว่ากงเต๊ก เครื่องกระดาษที่อุทิศไปให้นั้น จะสามารถส่งถึงผู้ที่รับได้โดยตรง ถึงแม้ว่าช่างเล็กจะเสียชีวิตลงไปแล้วแต่วิชาการทำกงเต๊ก หรือเครื่องกระดาษยังมีการสืบทอดรับช่วงงานฝีมือโดยภรรยาและ ลูก ๆ ของช่างเล็ก ที่มีการรับช่วงและฝึกฝนกันเป็นอย่างดี  คุณถนอมนวล องค์ศิริกุล ภรรยาช่างเล็กเล่าว่า ตนเป็นคน เชื้อสายจีนที่เติบโตในพื้นที่พลับพลาไชย ส่วนคุณเล็กมีพื้นเพเป็นคน จากจังหวัดอยุธยา แม้ทั้งคู่จะไม่ได้มีเชื้อสายญวนแต่อย่างใด แต่ได้ เข้ามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อบ๋าวเอิงที่วัดญวนแห่งนี้ ได้รำ่เรียน วิชาการทำกงเต๊ก เครื่องกระดาษนี้เรื่อยมาจากการเป็นลูกมือและลูก ศิษย์ช่างชาวญวนรุ่นเก่า ๆ เทคนิคสำคัญของการทำกงเต๊กแบบช่างญวนคือการใช้ “ไม้ระกำ” ที่ต้องสั่งมาจากจังหวัดจันทบุรี เนื่องจากไม้ระกำนั้นเป็น ไม้ที่เหนียวแต่อุ้มนำ้ได้ดีในอุณหภูมิที่มีความชื้น ทำให้ดัดเป็นรูปร่าง ต่าง ๆ ได้ดีกว่าไม้ไผ่ที่นิยมใช้ในงานกงเต๊กแบบจีน และยังเป็นเชื้อ เพลิงที่ดี เผาไหม้เร็ว และมอดดับเร็ว ซึ่งจะเป็นข้อแตกต่างกับการ ใช้ไม้ไผ่ที่มีเนื้อเหนียวติดไฟยากกว่า ภาพคุณถนอมนวล องค์ศิริกุล มาถึงรุ่นลูกมีการเพิ่มเทคนิคการทำต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น การ เพิ่มรายละเอียดขนาดเล็ก ๆ อย่างเสมือนจริงที่สุดโดยการใช้ดินญี่ปุ่น ปั้นตามแบบ ถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของงานกงเต๊กช่างเล็กทีเดียว งานที่รับทำมีทั้งราคาสูงและย่อมเยาขึ้นอยู่กับขนาดและวัสดุในการทำ หากเป็นไม้ไผ่จะมีราคาที่ถูกกว่าไม้ระกำ และมักจะไม่รับ งานซ้อนงาน เพราะใช้เวลานานเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ถึง แม้ว่าจะมีช่างฝีมืออยู่ภายในครอบครัวจำนวนหลายคนก็ตาม  กรณีงานหลวงหรืองานของเจ้านายเริ่มมีการบันทึกตั้งแต่ ครั้งรัชกาลที่ ๔ ในงานพระราชพิธีพระบรมศพของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน โดยเจ้าภาษีนายอากร ชาวจีนเป็นเจ้าภาพและให้ใช้ช่างพระญวนเป็นผู้ทำเครื่องกงเต๊กและ ประกอบพิธี ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งคณะสงฆ์จีนนิกายและอนัมนิกาย จึงมีการแยกจัดการพิธีถวายทีละคณะสงฆ์ ทุกวันนี้ครอบครัวช่างเล็กรับงานหลวงผ่านทางวัด โดยคณะ พระสงฆ์ญวนอนัมนิกาย หน้าที่ของช่างคือทำกงเต๊ก เครื่องกระดาษ โดยที่มีแบบจากการจำลองพระราชวังหรือตำหนัก ที่ประทับของ พระองค์ต่าง ๆ งานใหญ่ในลักษณะนี้ใช้เวลานานและใช้ความละเอียด สูงและมีขนาดใหญ่ ขั้นตอนการทำเริ่มทำกันเป็นชิ้นภายในบ้านก่อน หลังจากนั้นจึงนำไปประกอบยังพื้นที่จริงก่อนจะมีพิธีการสวดโดยคณะสงฆ์ ส่วนงานทั่วไปนั้นลูกค้ามีทั้งที่เป็นญวนและจีน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างจังหวัดส่วนใหญ่นั้นอยู่ทางแถบ จังหวัดนครพนม สกลนครเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีชาวญวนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางคุณถนอมนวลและลูก ๆ ต้องเดินทางไปส่งเอง ถึงที่ เนื่องจากมีกรรมวิธีการยกหรือการประกอบที่ซับซ้อน เจ้าภาพไม่ สามารถทำเองได้และพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียดไปจนถึงควบคุม การเผาส่งจนเรียบร้อย เป็นการจบภารกิจของช่างทำกงเต๊ก ปัจจุบันการทำกงเต๊กยังเป็นอาชีพหลักของครอบครัวช่างเล็ก ที่เหลือแต่ภรรยาและลูก ๆ สมาชิกของครอบครัวสิบกว่าคนต่างก็ช่วย กันทำกงเต๊กและเครื่องกระดาษ เป็นการสืบทอดงานฝีมือที่ตกทอดมา จากช่างญวนเก่าที่วัดญวน สะพานขาวให้คงอยู่สืบไปและเพิ่มเติมโดย การคงลักษณะอันโดดเด่นของช่างฝีมือวัดญวนในการเก็บรายละเอียด เรื่องราวทุกอย่างในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างเสมือนจริง  นอกจากนั้นครอบครัวของช่างเล็ก แม้จะย้ายออกไปอยู่นอก ชุมชนวัดญวน สะพานขาว เพราะพื้นที่การทำงานไม่สามารถทำได้ ในชุมชนอีกต่อไปแล้ว แต่ครอบครัวของคุณถนอมนวล องค์ศิริกุลก็ ยังช่วยเหลืองานกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนอย่างเข้มแข็งและสม่ำเสมอ เพราะถือว่า “ที่นี่คือบ้านของเรา” สมาชิกในครอบครัวทุกคนยังม สำนึกความเป็นคนในชุมชนวัดญวน สะพานขาวอย่างแน่นแฟ้น   บรรยากาศการเผากงเต๊กฝีมือทายาทช่างเล็ก วัดญวน สะพานขาว “มะเหง่” อาหารท้องถิ่นย่านวัดญวน สะพานขาว   กรุงเทพฯ ถือเป็นสังคม “พหุลักษณ์” ที่มีผู้คนหลากหลาย กลุ่มชาติพันธุ์ หลายศาสนาอาศัยอยู่ ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนกระจายไป ในพื้นที่ต่าง ๆ จึงพบความหลากหลายทางประเพณี วัฒนธรรม และ วิถีชีวิต ชาวญวนถือเป็นหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ภายในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลท ๑ ครั้งเกิดเหตุการณ์กบฏไตเซินและมาเพิ่มเติมในการสงครามสมัย รัชกาลที่ ๓ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอาศัยอยู่ริมแม่นำ้เจ้าพระยา บริเวณถนนสามเสน และอีกกลุ่มคือ กลุ่มชาวญวนที่นับถือพุทธศาสนาอาศัยอยู่ในบริเวณวัดญวน สะพาน ขาว ริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งนอก ทุกวันนี้แม้จะไม่พบว่ามีกลุ่มคนเชื้อสายญวนหลงเหลือตั้งถิ่นฐานบ้านช่องอยู่ที่วัดญวน สะพานขาวอีกแล้วแต่อย่างใด แต่มรดกทางวัฒนธรรมด้านอาหารชนิดหนึ่งยังคงพบเห็นและสืบทอดการทำอยู่ ทำได้รสชาติอร่อยและถือเป็นอาหารประจำย่านวัดญวน สะพานขาว ชั้นเยี่ยมได้ทีเดียว ชาวบ้านที่วัดญวนแห่งนี้เรียกชื่อกันว่า “มะเหง่” สมัยก่อน เป็นอาหารที่มีรับประทานกันในชุมชน โดยมีคนญวนใส่หาบขายกัน ตามบ้านและเป็นอาหารที่ทำรับประทานกันเองภายในครอบครัวตาม วาระ มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวไหหลำ แต่เส้นทำมาจากแป้งขนมจีน เพียงแต่มีขนาดอวบใหญ่กว่ามาก สามารถรับประทานได้ทั้งแบบแห้ง และนำ้ ส่วนน้ำซุปทำจากน้ำต้มกระดูกหมูที่ต้มนานได้รสชาติดีและ คอยดูแลให้นำ้ใส ใส่เนื้อสัตว์สองแบบคือหมูและปลา สูตรดั้งเดิมนั้น ใช้ปลาทู แต่เนื่องจากปลาทูมีกลิ่นคาวจึงได้ปรับมาเป็นปลาช่อน   ความพิเศษของมะเหง่ที่ฟังดูแล้วไม่คุ้นเคยพอ ๆ กับชื่อนั่นคือ “น้ำจิ้มมะม่วง” ท่ีใช้ราดลงไปในมะเหง่แบบแห้งเพื่อเพิ่มรสชาติ แถม ยังได้รับการยืนยันจากคนในท้องถิ่นว่า “มะเหง่อร่อยได้เพราะน้ำจิ้ม หากไม่ใส่จะถือว่าไม่เป็นมะเหง่” น้ำจิ้มมะม่วงดังกล่าวมีส่วนผสมจาก น้ำตาลปี๊บ น้ำมะนาวกระเทียม พริกเหลืองหรือขี้หนูสวนและมะม่วง ดิบซอยที่มีรสเปรี้ยว รสชาติคล้ายกับยำมะม่วงหรือกินมะม่วงน้ำปลา หวาน เมื่อราดน้ำจิ้มลงบนมะเหง่แห้งแล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว ต้นหอม ผักชี คลุกให้เข้ากันแล้วรับประทานอร่อยหอมหวานอมเปรี้ยว  ทุกวันนี้อาหารประจำถิ่นวัดญวน สะพานขาว มะเหง่ได้รับ การฟื้นฟูให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง คุณพณิฎา สกุลธนโสภณ หรือ ป้าใหญ่ วัย ๖๓ ปี เกิดและอยู่ที่ตรอกใต้มานาน มีเชื้อจีนผสมญวนทาง นครสวรรค์ ย้ายออกมาจากตรอกใต้หลังไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ภายหลังมาแต่งงานกับสามีเป็นคนเชื้อจีนไหหลำซึ่งอาศัยเช่า ที่ดินวัดสมณานัมบริหาร หรือรู้จักกันในนามวัดญวนสะพานขาว อาศัย อยู่บริเวณด้านหน้าวัดและเป็นโยมอุปัฏฐากวัด ดูแลกิจกรรมภายในวัด และศาลเจ้าพ่อกวนอูต่อจากแม่ของสามีที่เคยทำหน้าที่นี้อยู่ ป้าใหญ่เกรงว่าสิ่งเหล่านี้ที่เป็นมรดกตกทอดทาง วัฒนธรรมของชุมชนจะเลือน หายไปกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จึงตัดสินใจเปิดการขาย มะเหง่ขึ้นมาพร้อมทั้งแนะนำ วิธีการทำให้กับทายาท และผู้สนใจได้เรียนรู้ โดย ถือว่าการเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์คือวิธีการ อนุรักษ์อย่างหนึ่ง ที่จะสามารถทำได้ด้วยตนเอง  คุณพณิฎา สกุลธนโสภณ หรือป้าใหญ่ "มะเหง่" ของดีของชาวชุมชนวัดญวน สะพานขาว เมื่อไม่นานมานี้มีชาวเวียดนามได้บังเอิญผ่านเข้ามาเจอป้า ใหญ่กำลังลงมือปรุงมะเหง่อยู่บริเวณร้านอาหารของป้าใหญ่ที่ตั้งอยู่ บริเวณหน้าวัดญวน สะพานขาว จนมีความสนใจและได้พูดคุย แลก เปลี่ยน บอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมกันได้ความว่า ในทางเวียดนาม ตอนเหนือแถบฮานอยมีอาหารที่มีลักษณะคล้ายมะเหง่ โดยมีชื่อภาษาถิ่นว่า “บุ๋นจ่าก้า” [ Bún Chá Ca ] ถือเป็นความรู้ใหม่ให้กับชาวชุมชนเพราะไม่เคยทราบสิ่งเหล่านี้มาก่อน รู้เพียงแค่ว่านี่คืออาหารที่สืบทอด กันมายาวนานของผู้คนในชุมชนเพียงเท่านั้น   ในปัจจุบันถึงแม้ว่าผู้คนที่มีเชื้อสายญวนนั้นแทบจะหายไป จากชุมชนทั้งหมดแล้ว แต่ “มะเหง่” ยังเป็นร่องรอยวัฒนธรรมที่ยืนยัน และสามารถบอกเล่าเรื่องราวในชุดความรู้ของประวัติศาสตร์สังคม ของชาวญวนที่ครั้งหนึ่งเคยมีกลุ่มคนชาวเวียดนามเก่าแก่ตั้งแต่ยุคต้น กรุงฯ กลุ่มหนึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่แห่งนี้ และสำหรับท่านที่สนใจต้องการลองรับประทาน “มะเหง่” ของดีของชุมชนวัดญวน สะพานขาว สามารถแวะไปได้ที่ “ร้านมะเหง่ ป้าใหญ่วัดญวน สะพานขาว” บริเวณหน้าลานจอดรถวัดสมณา นัมบริหาร หรือวัดญวน สะพานขาว ในวันอังคาร วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์เวลา ๑๑.๐๐-๑๖.๐๐ น. หรือโทร. ๐๖๒-๕๑๗-๔๗๖๕ แผนที่ร้านมะเหง่ของป้าใหญ่ บริเวณหน้าวัดญวน สะพานขาว จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • ขนมเต่า ในเทศกาลหยวนเซียวที่ศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ย. 2559 ขนมเต่าที่ทางศาลเจ้าโจวซือกงจัดเตรียมไว้ในแต่ละปี จะทำขึ้นราว ๑,๐๐๐ คู่  (ที่มา: คุณสมชาย เกตุมณี) “ย่านตลาดน้อย” เป็นชุมชนชาวจีนที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่สืบกันมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณที่ตั้งของตลาดน้อยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก เป็นชุมชนที่ขยายตัวต่อเนื่องมาจากย่านสำเพ็งตั้งแต่แถบวัดปทุมคงคาเรื่อยมาถึงปากคลองผดุงกรุงเกษมทางด้านใต้ ชุมชนชาวจีนที่ย่านตลาดน้อยประกอบด้วยชาวจีนหลากหลายกลุ่ม  กลุ่มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานแรกสุด คือ ชาวจีนฮกเกี้ยน และได้สร้าง “ศาลเจ้าโจวซือกง” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๗ เพื่อเป็นศูนย์รวมของชาวจีนฮกเกี้ยน ถือว่าเป็นศาลเจ้าที่มีความเก่าแก่มากที่สุดในย่านตลาดน้อย เดิมเป็นวัดชื่อ  “ซุนเฮงยี่”  มีเทพประธานของศาลเจ้า คือ เทพโจวซือกงหรือหมอพระเช็งจุ้ยโจวซือ ซึ่งเป็นหมอพระที่ชาวฮกเกี้ยนให้ความเคารพนับถือ ทุกปีในช่วงหลังเทศกาลตรุษจีนประมาณ ๑๕ วัน ศาลเจ้าโจวซือกงจะมีการจัดงาน “เทศกาลหยวนเซียว” ซึ่งเป็นงานส่งท้ายเทศกาลตรุษจีน ความน่าสนใจของงานนี้อยู่ที่ของมงคลประจำเทศกาล คือ “ขนมเต่า” ซึ่งนอกจากจะมีความหมายอันเป็นมงคลตามคติจีนแล้ว ยังพบว่าขนมที่ทำเป็นรูปเต่าเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มวัฒนธรรมชาวจีนฮกเกี้ยน  “ หยวนเซียว” เทศกาลส่งท้ายตรุษจีน  หยวนเซียวหรือง่วนเซียว ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว เป็นงานเฉลิมฉลองส่งท้ายเทศกาลตรุษจีน จัดขึ้นในช่วงเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติ คำว่า หยวนเซียว ตามรูปศัพท์ภาษาจีนแปลว่า คืนแรก หมายถึงคืนเพ็ญแรกของปี เทศกาลหยวนเซียวจึงถือเป็นประเพณีรื่นเริงที่จัดขึ้นก่อนการเริ่มต้นทำกิจการงานในปีใหม่  เทศกาลหยวนเซียวถือเป็นประเพณีเก่าแก่อย่างหนึ่งของชาวจีน มีวิวัฒนาการมาจากการจุดประทีปเพื่อการบูชาเดือนดาวในช่วงเดือนอ้าย ตามลัทธิศาสนาดั้งเดิมของจีน ต่อมาเมื่อมีการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา ประเพณีดังกล่าวได้ถูกผสมผสานเข้ากับคติการจุดประทีปโคมไฟเพื่อเป็นพุทธบูชาในวันมาฆบูชา จึงทำให้กิจกรรมนี้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นเทศกาลหยวนเซียว ตามประเพณีดั้งเดิมของจีนนอกจากการไหว้เจ้าและบรรพบุรุษแล้ว ยังมีการจุดประทีปโคมไฟและมีการจัดงานเทศกาลเที่ยวชมโคมไฟที่ถูกประดับประดาอย่างสวยงาม ปัจจุบันประเทศจีนและไต้หวันยังมีการจัดเทศกาลแสดงโคมไฟสวยงาม (The Lantern Festival) ในช่วงเทศกาลดังกล่าว นอกจากนี้ในอดีตยังนิยมเล่นปริศนาโคมที่มีการแต่งบทร้อยกรองเป็นปริศนาคำทายประกอบกับโคมไฟในเทศกาลอีกด้วย สำหรับชุมชนชาวจีนในไทย มีการจัดงานวันหยวนเซียวขึ้นตามศาลเจ้าต่างๆ ด้วยเช่นกัน ในอดีตถือเป็นงานรื่นเริงที่มีความคึกคักเป็นอย่างมาก พบว่ามีทั้งการแห่โคม ชมโคม และการเล่นทายปริศนาโคมหรือเต็งหมี่ ที่เคยมีการพิมพ์รวบรวมปริศนาต่างๆ ไว้เป็นหนังสือ แต่ในปัจจุบันความคึกคักของเทศกาลหยวนเซียวดังที่กล่าวมานี้เลือนหายไปมากแล้ว คงเหลือเพียงการเซ่นไหว้เทพเจ้าตามศาลเจ้าต่าง ๆ เท่านั้น เทศกาลโคมไฟที่ศาลเจ้าโจวซือกง งานเทศกาลหยวนเซียวยังคงเป็นประเพณีสำคัญในรอบปีของศาลเจ้าโจวซือกงย่านตลาดน้อย นอกเหนือไปจากเทศกาลตรุษจีน ทิ้งกระจาด และกินเจ งานวันหยวนเซียวจะจัดขึ้นภายหลังจากวันตรุษจีนราว ๑๕ วัน ดังเช่นปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ภายในวันงาน ชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนทั้งที่อาศัยอยู่ภายในย่านตลาดน้อยและจากที่อื่น ๆ ที่มีความศรัทธาในเทพเจ้าโจวซือกง ต่างเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก ผู้คนเริ่มทยอยมาที่ศาลเจ้าตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ของวันเรื่อยไปจนถึงช่วงหัวค่ำ  พิธีกรรมที่ทำร่วมกันที่ศาลเจ้าในวันหยวนเซียว ประกอบด้วยการจุดเทียนเพื่อบูชาเทพเจ้า การเซ่นไหว้ขอพรเทพเจ้า และทำบุญบำรุงศาลเจ้าด้วยการซื้อขนมมงคลต่าง ๆ ที่ศาลเจ้าเตรียมไว้ โดยเฉพาะขนมเต่าซึ่งทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเทศกาลหยวนเซียวเท่านั้น จากนั้นในช่วงค่ำจะมีการแสดงงิ้วที่บริเวณด้านหน้าศาลเจ้า เพื่อถวายเทพเจ้าและเป็นมหรสพที่สร้างความรื่นเริงให้แก่คนทั่วไป  บรรยากาศภายในศาลเจ้าโจวซือถงในวันเทศกาลหยวนเซียว ขั้นตอนการไหว้ในวันหยวนเซียวที่ศาลเจ้าโจวซือกง ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เริ่มต้นด้วยการนำเทียนคู่หนึ่งไปจุดที่บริเวณลานด้านหน้าศาลเจ้า ซึ่งทางศาลเจ้าได้เตรียมโต๊ะที่ด้านบนวางโครงเหล็กสำหรับเป็นเชิงเทียน ตำแหน่งที่จะวางเทียนมีทั้งที่ต้องจองไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อเลือกตำแหน่งปักเทียนตามต้องการ โดยจะมีการกำหนดตำแหน่งเป็นหมายเลขเอาไว้ คนที่จองล่วงหน้าอาจยึดตามเลขมงคลที่ตนเองเชื่อถือ หรือเลขทะเบียนรถ ทะเบียนบ้าน ผู้ทำพิธีที่มาเป็นประจำทุกปีมักจะจองกับศาลเจ้าไว้ก่อนและจะซื้อเทียนที่ศาลเจ้าเตรียมไว้ให้ ส่วนผู้ที่ต้องการนำเทียนมาเองก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยทางศาลเจ้าจะจัดที่ทางส่วนหนึ่งไว้ให้ การจุดเทียนประทีปเพื่อบูชาเทพเจ้าเช่นนี้ นอกจากคติความเชื่อเรื่องความเจริญรุ่งเรืองแล้ว ส่วนหนึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการจุดประทีปบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ อันเป็นผลมาจากการผสมผสานกับพระพุทธศาสนา เมื่อจุดเทียนแล้วจะเป็นขั้นตอนการไหว้ขอพรจากเทพเจ้า เริ่มต้นด้วยการไหว้ทีกงหรือไหว้ฟ้าดิน มีการตั้งโต๊ะไหว้ทีกงทางด้านหน้าของศาลเจ้า จากนั้นจึงค่อยเข้าไปภายในศาลเจ้าเพื่อทำการสักการะเทพอากงหรือเทพโจวซือกง หมอพระที่ชาวฮกเกี้ยนให้ความเคารพนับถือ อันเป็นประธานของศาลเจ้าแห่งนี้ แล้วจึงทำการสักการะเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาล ไม่ว่าจะเป็น เทพเจ้ากวนอู เจ้าแม่ทับทิม เทพตั่วเหล่าเอี้ย และ ๓๖ ขุนพลเทพเจ้า เป็นต้น ก่อนจะปิดท้ายด้วยการไหว้ทวารบาลที่ด้านหน้าประตูทางเข้าศาลเจ้า  วันงานทางศาลเจ้ายังจัดเตรียมของไหว้และขนมมงคลแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ส้ม ขนมเปี๊ยะ เอาไว้ให้ผู้ที่เดินทางมาศาลเจ้าซื้อกลับไป ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าท้องตลาด แต่ถือว่าเป็นการทำบุญบำรุงศาลเจ้าและเชื่อว่าเป็นของมงคล เพราะเป็นของที่ผ่านความศักดิ์สิทธิ์จากศาลเจ้าแล้ว ถ้านำกลับไปรับประทานจะมีแต่โชคลาภ ความรุ่งเรืองทั้งต่อตนเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีสิงโตน้ำตาล   ที่ภาษาจีนเรียกว่า ถึ่งไซ และเจดีย์น้ำตาล เรียกว่า ถึ่งถะ ที่ทางศาลเจ้าเตรียมไว้จำนวนหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาสามารถจองและนำกลับไปตั้งบูชาที่บ้านได้ โดยนิยมนำไปเป็นคู่ ทั้งสิงโตน้ำตาลและเจดีย์น้ำตาลถือเป็นของไหว้ประจำเทศกาลหยวนเซียวที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไปตามศาลเจ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ศาลเจ้าของจีนแต่จิ๋ว ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงมักเรียกเทศกาลหยวนเซียวว่า สารทสิงโตน้ำตาล สิงโตน้ำตาลและเจดีย์น้ำตาล ทำจากน้ำตาลทรายนำมาขึ้นรูปในแม่พิมพ์รูปสิงโตหรือเจดีย์แบบจีน อาจมีการแต่งแต้มสีสัน เช่น สีชมพู หรือว่าปล่อยเป็นสีขาวตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสิงโตที่ทำจากถั่วตัดประดับด้วยแป้งปั้น ตบแต่งเป็นรายละเอียดในส่วนหน้าตาและหนวดเคราของสิงโต แล้วแต่งแต้มด้วยสีสันต่าง ๆ  ใน  บาญชีขนมต่าง ๆ ที่จัดแสดงในงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองในงานพระราชพิธีสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕  มีการกล่าวถึง  สิงโตน้ำตาล  อยู่ในหมวดขนมต่างๆ ของจีนที่ทำด้วยแป้ง ถั่ว เจือน้ำตาล ว่า มีชาวจีนทำขายที่ย่านสำเพ็ง ราคาขายจะคิดชั่งตามน้ำหนัก ปัจจุบันสิงโตน้ำตาลมีจำหน่ายอยู่หลายร้านในย่านสำเพ็ง เยาวราช ซึ่งคติการทำสิงโตน้ำตาลและเจดีย์น้ำตาลนี้ นอกจากเป็นสิ่งของที่มีความหมายอันเป็นมงคลแล้ว น่าจะมีที่มาจากการผสมผสานกับคติทางพระพุทธศาสนาด้วย โดยเฉพาะการทำเจดีย์น้ำตาล นอกจากขนมต่างๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่เป็นของไหว้พิเศษที่ทางศาลเจ้าจัดเตรียมไว้เฉพาะสำหรับงานหยวนเซียวเป็นประจำทุกปี คือ “ขนมเต่า”   ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของงานหยวนเซียวที่ศาลเจ้าโจวซือกง และเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน อีกทั้งเป็นไปได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวจีนฮกเกี้ยน เนื่องจากพบว่ามีความนิยมใช้ขนมที่ทำเป็นรูปเต่าในงานประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน     “ขนมเต่า” ในวัฒนธรรมจีนฮกเกี้ยน  ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก “เต่า” มีความหมายแสดงถึงการมีอายุยืนยาวและความมั่นคง ด้วยลักษณะทางกายภาพของเต่าที่มีความแข็งแกร่ง มีกระดองที่สามารถป้องกันภัยอันตราย และมีอายุยืนยาวตามธรรมชาติ ในวัฒนธรรมจีนก็มีการให้ความสำคัญกับเต่าในฐานะสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์มงคลที่แสดงถึงความมีอายุยืน พลังความแข็งแกร่ง และการยืนหยัด ในตำนานการสร้างโลกและจักรวาลของจีนกล่าวว่า เต่ามีส่วนช่วย ผานกู่ เทพบิดรของชาวจีนสร้างโลก นอกจากนี้ตั้งแต่ยุคจีนโบราณยังมีความเชื่อว่ากระดองเต่าสามารถใช้ทำนายอนาคตได้อีกด้วย  ในกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนทั้งที่ในประเทศจีน ไต้หวัน และแถบประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และหลายจังหวัดทางภาคใต้ของไทย เช่น ตรัง พังงา ภูเก็ต เป็นต้น พบว่ามีการทำขนมรูปร่างเต่าเพื่อนำมาใช้ในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ และให้ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีมาโง่ยหรือพิธีครบรอบเดือนของเด็กชาวจีนฮกเกี้ยน เพื่อให้เด็กเติบโตมามีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง วันคล้ายวันเกิดของผู้อาวุโสจะนิยมนำขนมเต่าไปมอบให้เพื่ออวยพรให้มีอายุยืนนานด้วยเช่นกัน   รูปแบบของขนมเต่าพบว่าแบ่งออกเป็น ๒ แบบ รูปแบบที่นิยมกันแพร่หลายคือ ขนมเต่าสีแดง เรียกเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนว่าขนมอังกู๊   คำว่า “อัง” แปลว่า สีแดง ส่วนคำว่า “กู๊” แปลว่า เต่า ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว มีไส้หวานทำด้วยถั่วกวน ขั้นตอนการทำจะนำแป้งอัดลงไปในพิมพ์ไม้ที่ทำเป็นรูปกระดองเต่า ซึ่งมีคำมงคลเป็นภาษาจีนอยู่ เมื่อเสร็จแล้วนำไปนึ่ง จะได้ขนมที่มีรูปร่างเหมือนกระดองเต่า ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นสีแดงอันเป็นสีมงคลของชาวจีน ปัจจุบันขนมอังกู๊ไม่เพียงแต่เป็นของไหว้ในเทศกาลหรือมอบให้กันในโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ยังนิยมรับประทานกันเป็นของว่างอีกด้วย ส่วนขนมเต่าอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แบบที่ทำอย่างซาลาเปา โดยใช้แป้งสาลีปั้นเป็นรูปเต่า ซึ่งเป็นแบบที่ใช้เป็นของไหว้หลักในเทศกาลหยวนเซียวที่ศาลเจ้าโจวซือกง แต่ละปีทางศาลเจ้าจะทำขนมเต่าเตรียมไว้สำหรับให้คนที่มาร่วมงานสามารถทำบุญกับศาลเจ้า ด้วยการซื้อขนมเต่ากลับบ้านไปได้ การทำขนมเต่ารูปแบบนี้ ศาลเจ้าจะต้องทำเตรียมไว้ล่วงหน้า ๓–๔ วัน โดยมีชาวบ้านในย่านตลาดน้อยมาช่วยทำด้วย  แป้งที่ใช้ทำขนมเต่าลักษณะนี้จะใช้แป้งสาลี ขั้นตอนการทำคล้ายกับวิธีการทำซาลาเปา ปั้นเป็นรูปเต่า แล้วติดเมล็ดถั่วดำเป็นลูกตา จากนั้นนำไปนึ่ง แต่เมื่อนึ่งแล้วจะต้องนำมาผึ่งให้แป้งแห้งสนิท เพื่อให้ไม่ขึ้นราและเก็บได้นานขึ้น จากนั้นจะนำมาเขียนคำมงคลเป็นภาษาจีนลงบนกระดองเต่า ส่วนมากเป็นคำมงคลที่ประกอบด้วย ๔ พยางค์  อวยพรให้เจริญรุ่งเรือง เช่น 万事如意 แปลว่า หมื่นเรื่องสมปรารถนา หมายถึงขอให้สมปรารถนาในทุกๆ สิ่ง เป็นต้น ผู้เขียนคำมงคลเป็นภาษาจีนเป็นผู้อาวุโสที่อยู่ภายในย่านตลาดน้อย นอกจากนี้มีขนมเต่าแบบพิเศษ คือ ทำเป็นรูปเต่าตัวใหญ่ที่มีเต่าตัวเล็กขี่อยู่บนหลัง มีความหมายที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ มีลูกหลานมากมาย ในแต่ละปีศาลเจ้าโจวซือกงจะทำขนมเต่าแบบนี้มาไว้ที่ศาลเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ คู่ คนที่มาไหว้ในวันหยวนเซียวนิยมซื้อกลับไปเป็นคู่ ขนมเต่าแบบนี้ไม่นิยมนำไปกินกัน แต่จะไปตั้งไว้ที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ราคาของขนมเต่าที่ศาลเจ้าจะแตกต่างกันไปตามขนาด เช่น เต่าขนาดเล็กจะมีราคาคู่ละ ๑๒๐ บาท  ส่วนขนมเต่าแดงหรืออังกู๊มีการทำมาวางขายที่ศาลเจ้าเช่นกัน แต่มีจำนวนไม่มากราว ๔๐ คู่ เพราะคนไม่ค่อยนิยม เนื่องจากบูดเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน นอกจากนี้ผู้ที่มาไหว้ที่ศาลเจ้าในงานหยวนเซียวจะเตรียมขนมเต่ามาเองก็ได้ ซึ่งพบว่าในวันงานมีบ้านที่อยู่ในละแวกศาลเจ้าโจวซือกง ทำขนมเต่ามาตั้งวางขายบริเวณหน้าบ้านด้วยเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ในย่านตลาดน้อยพบว่ามีเพียงศาลเจ้าโจวซือกงซึ่งเป็นศาลเจ้าฮกเกี้ยนเท่านั้น ที่นิยมใช้ขนมเต่าเป็นของไหว้หลักในเทศกาลหยวนเซียว ขณะที่ชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยนที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดภูเก็ต นิยมใช้ขนมเต่าที่ทำขึ้นจากแป้งสาลีเป็นของไหว้ในเทศกาลชิดโง่ยปั่วหรือชิดโง่ยพ้อต่อ (วันสารทจีน) ในช่วงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ทำขนมเต่าสีแดงที่มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ นอกจากจะมีการเขียนคำมงคลลงบนกระดองเต่าแล้ว ยังมีการประดับลวดลายสวยงาม เช่น รูปดอกไม้ ใบไม้ อีกด้วย  อาจกล่าวได้ว่าการใช้ขนมเต่าเป็นของไหว้ในเทศกาลหยวนเซียว ถือเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของศาลเจ้าโจวซือกง ย่านตลาดน้อย โดยอาจมีความเกี่ยวข้องกับความนิยมใช้ขนมที่ทำเป็นรูปเต่าในโอกาสพิเศษและเทศกาลต่าง ๆ ที่พบมากในกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนนั่นเอง  อภิญญา   นนท์นาท อ้างอิง   ขวัญจิต   ศศิวงศาโรจน์ . สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ฮกเกี้ยน .  ( กรุงเทพฯ  : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท   ม . มหิดล ), ๒๕๔๓ .  ถาวร   สิกขโกศล . เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ .   กรุงเทพฯ  : มติชน , ๒๕๕๗ .  นิภาพร   รัชตพัฒนกุล . “ ตลาดน้อย  : พัฒนาการชุมชน ” ใน   ศิลปวัฒนธรรม   ปีที่   ๒๔   ฉบับที่   ๔  ( กุมภาพันธ์ ), ๑๖๒ - ๑๖๕ .  ประทุม   ชุ่มเพ็งพันธุ์ . สัตว์มงคลจีน   ประเพณีและความเชื่อจากอดีตถึงปัจจุบัน .  ( กรุงเทพฯ  : ชมรมเด็ก ), ๒๕๕๔ . เพ็ญพิสุทธิ์   อินทรภิรมย์ . “ ชาวฮกเกี้ยนในสมัยรัตนโกสินทร์  : จำนวนเปลี่ยนแปลงแต่บทบาทมิได้เปลี่ยนไป ” ใน   สายธารแห่งอดีต   รวมบทความประวัติศาสตร์เนื่องในวาระครบรอบ   ๖๐   ปี   ศ . ดร . ปิยนาถ   บุนนาค . ( กรุงเทพฯ  : ภาควิชาประวัติศาสตร์   คณะอักษรศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ), ๒๕๕๐ เว็บไซต์   “Cultural depictions of turtles” ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Cultural_depictions_of_turtles “ อังกู๊ - ขนมเต่า ” ที่มา  : http://phuketcuisine.com ข้อมูลสัมภาษณ์ สมชัย   กวางทองพานิชย์ , ๒๒   กุมภาพันธ์   พ . ศ . ๒๕๕๙   สมชาย   เกตุมณี , ผู้ดูแลภายในศาลเจ้าโจวซือกง   ตลาดน้อย , ๒๒   พฤษภาคม   พ . ศ . ๒๕๕๙   อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • ไตเย็บใหม่ ร้านค้ากระดุมเก่าแก่ในย่านพาหุรัด

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2559  ร้านไตเย็บใหม่ ตั้งอยู่บนตึกแถวริมถนนจักรเพชร ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติและศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวมอญ ชาวญวน ชาวลาว ชาวตะวันตก แม้แต่ชาวอินเดีย กลุ่มคนเหล่านี้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่ออยู่อาศัยและทำมาหากินตั้งแต่ก่อนช่วงที่มีการเริ่มสร้างเมืองขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ล้วนส่งผลทำให้ประเทศเกิดการขยายตัวของประชากร เศรษฐกิจ และการค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ย่านเยาวราช ย่านสำเพ็ง ย่านพาหุรัด ฯลฯ ย่านพาหุรัดเป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญ ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย จนถึงช่วงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดเหตุไฟไหม้จนทำให้ชาวญวนย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่อื่นจึงทำให้เกิดเป็นที่ว่าง รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนพาหุรัดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ และดำริให้สร้างตึกแถวริมถนนพาหุรัด ทำให้มีคนอินเดียหรือแขกจำนวนมากเปิดเป็นร้านขายผ้าและสินค้านำเข้าจากประเทศอินเดียจนกลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญ คุณกิตติพงษ์ วงศ์มีนา เจ้าของร้านรุ่นที่ ๓ ของร้านไตเย็บใหม่ พาหุรัดกลายเป็นแหล่งค้าผ้าแห่งใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ สมัยก่อน เพราะความหลากหลายของสินค้านำเข้าประเภทผ้าจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีผ้าไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นผ้าจากประเทศอังกฤษ เช่น ผ้าดิบ ผ้าแฟนซี ผ้าคอตตอน ผ้ากันหนาวของประเทศอิตาลีและผ้าจากประเทศอื่น ๆ ทำให้ย่านพาหุรัดได้รับความนิยมจากลูกค้าคนไทยและต่างชาติในยุคที่มีการตัดเย็บชุดเสื้อผ้าสำหรับใส่เอง ซึ่งนอกจากผ้าที่เป็นองค์ประกอบหลักในการตัดชุดแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญอีกที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ “กระดุม” และ “ลวดลายลูกไม้” เย็บปักต่าง ๆ สำหรับตกแต่งเพื่อให้ชุดเกิดความสวยงามมากขึ้น ร้านขายกระดุมเก่าแก่ที่สุดร้านหนึ่งในย่านพาหุรัด “ร้านไตเย็บใหม่” ตั้งอยู่บนถนนจักรเพชร เป็นร้านที่มีอายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว ปัจจุบันมีการสืบทอดกิจการมาจนถึงรุ่นที่ ๓  คุณกิตติพงษ์ วงศ์มีนา เจ้าของร้านปัจจุบันกล่าวว่าชื่อร้านมีที่มาจากพี่ชายของคุณพ่อชื่อ ‘ไตเย็บ’ เป็นคนมุสลิมจากประเทศอิหร่านที่อยู่อาศัยในประเทศอินเดียและย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้เปิดร้านไตเย็บใหม่คนแรกและยังเป็นชาวมุสลิมเพียงห้องเดียวที่อาศัยอยู่ในตึกแถวท่ามกลางคนจีนเช่นนี้ด้วย  หลังจากคุณลุงเสียชีวิตไป คุณพ่อก็สืบกิจการต่อจากพี่ชาย และเปลี่ยนชื่อร้านเป็นใหม่เป็น “ร้านไตเย็บใหม่” กิจการขายกระดุมและลูกไม้สมัยก่อนไม่ได้มีร้านมากนัก บางครั้งจึงมีนางสนมจากในวังแวะมาซื้อลูกไม้นำไปติดมุ้งและคุณหญิงคุณนายเข้ามาซื้อกระดุมย่านพาหุรัดกันเป็นจำนวนมาก กระดุมที่นำเข้ามาขายรุ่นแรก ๆ ส่วนใหญ่จะมาจากทางฝั่งยุโรป เช่น ประเทศออสเตรีย เยอรมัน หรือเชคโกสโลวาเกีย ทั้งสามประเทศนี้จะมีการผลิตกระดุมเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบในการทำกระดุมเยอะ ส่วนลำดับการนำเข้ามาของกระดุม คุณกิตติพงษ์เล่าว่า  “ จะเริ่มจากกระดุมแก้วของเยอรมันและเชโกสโลวาเกียก่อน   แล้วตามมาด้วยกระดุมคริลตัลสวารอฟสกี้ของประเทศออสเตรีย   และกระดุมพลาสติกของประเทศไต้หวัน   ส่วนกระดุมไฟเบอร์ของฝรั่งเศสจะเป็นกระดุมแบบที่นำแก้วคริสตัลไปหลอม   กระดุมของไทยก็มีกระดุมพลาสติกของวีนัส ” กระดุมหลากหลายชนิด วางขายในตู้ไม้สักแบบดั้งเดิมที่มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี การสั่งกระดุมสมัยแรกจะนำเข้าโดยการสั่งทางจดหมาย ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๒-๓ อาทิตย์ต่อครั้ง ต่อมาพัฒนามาเป็นการใช้เครื่องแฟ๊กซ์ที่ช่วยย่นระยะเวลาในการสั่งกระดุมเข้ามาได้มาก และปัจจุบันจะสั่งของนำเข้าด้วยอีเมล์แทน    ในการสั่งกระดุมนำเข้าต่อครั้งต้องสั่งทีละหลาย ๆ กุรุส [Gross] ๑ กุรุสของกระดุมจะเท่ากับ ๑๔๔ เม็ดหรือ ๑๒ โหล ส่วนการขนส่งกระดุมจะมีการนำเข้ามา ๒ แบบด้วยกัน คือ ทางเรือ โดยเรือเข้ามาเทียบท่าที่คลองเตยและแหลมฉบัง จากนั้นชิปปิ้งจะนำสินค้ามาส่งให้ที่ร้านและทางเครื่องบิน ปัจจุบันจะมีการขนส่งสินค้าเข้ามาทางเรือในกรณีที่สินค้ามีน้ำหนักมากและทางเครื่องบินหากมีน้ำหนักน้อย ราคาของกระดุมจะขึ้นอยู่กับประเภท ชนิด และวัสดุที่ทำ โดยกระดุมที่ราคาแพงที่สุด คือ กระดุมเพชรจากสวารอฟสกี้ มีราคาถึง ๕๐ บาท เป็นราคาที่ยังไม่รวมค่าภาษี ในช่วงเวลาที่ค่าเงินดอลลาร์ต่อเงินบาทไทยอยู่ที่ ๒๕ บาทเท่านั้น ส่วนกระดุมที่ราคาถูกที่สุด คือ กระดุมพลาสติกที่ผลิตในไทยอย่างกระดุมวีนัส ซึ่งมีราคาไม่ถึง ๑ บาทต่อเม็ด คนสมัยก่อนนิยมใช้กระดุมสวยงามทำเสื้อผ้ากันมาก ไม่ว่าจะลูกค้าทั่วไปหรือลูกค้าเจ้าประจำของร้านไตเย็บใหม่อย่างร้านตัดเสื้อหรือร้านบูติคที่มีชื่อเสียง เช่น ร้านไทยบูติคหรือร้านดวงใจบีส ที่เคยตัดชุดถวายให้กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีมาแล้ว ถ้าตัดชุดหรูส่วนใหญ่ก็จะใช้กระดุมเพชรของสวารอฟสกี้แบบออริจินัลของต่างประเทศกัน “ การซื้อขายกระดุมสมัยก่อนที่สภาพเศรษฐกิจดีมีคนเข้าร้านตลอด   เพราะคนมีกำลังซื้อมาก   คนที่ไฮโซหน่อยก็ไปซื้อของแบนด์เนมกัน   แม้แต่การ์เมนท์ของร้านเสื้อ  New City ของไทยก็ยังมารับกระดุมจากที่ร้านไป   เขาก็ไปทำเสื้อผ้าส่งออกต่างประเทศแล้วคนไทยก็ซื้อกลับมาใส่อีก ” ทุกวันนี้ความนิยมของการใช้กระดุมนำเข้าลดน้อยลงตั้งแต่ผู้คนเลิกนิยมการตัดชุดเสื้อผ้าสวมใส่ เปลี่ยนมาเป็นการใช้เสื้อผ้าสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า ด้วยความสะดวกสบาย ราคาถูกกว่าและมีให้เลือกสรรได้หลายรูปแบบ ทำให้ร้านตัดชุดเสื้อผ้าหลายร้านต้องทยอยปิดตัวลง เพราะคนตัดชุดน้อยลง กระดุมและลูกไม้ที่ผลิตทางฝั่งยุโรปก็ผลิตได้น้อยลงรวมถึงกระดุมก็อบปี้จากเมืองจีนมีเข้ามามากส่งผลให้กระดุมนำเข้าค้าขายได้ลำบากขึ้น แม้ตอนนี้จะมีคนเฉพาะกลุ่มที่ยังให้ความสนใจกระดุมเช่นนี้อยู่บ้าง เช่น ดีไซน์เนอร์ ร้านบูติคต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้กระดุมแบบแฮนด์เมดกันมากขึ้น และลูกค้าประจำหลายร้านที่เป็นการ์เมนท์ส่งออกต่างประเทศตั้งแต่สมัยก่อนก็เหลืออีกเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น พาหุรัดยังคงเป็นแหล่งค้าปลีกผ้าของคนในย่านเก่าสำหรับคนที่ต้องการเลือกซื้อผ้าแบบเฉพาะทางและหาไม่ได้จากแหล่งขายผ้าอื่น การเกิดใหม่ของแหล่งค้าผ้าหลาย ๆ ที่เริ่มกระจายตัวอยู่ตามย่านอื่นหรือตามห้างสรรพสินค้าติดแอร์มากขึ้น ทำให้คนมีทางเลือกในการเดินทางและสามารถเลือกซื้อผ้าได้สะดวกขึ้น เกิดผลให้การค้าขายของพาหุรัดเริ่มซบเซาลงมาก ทั้งการค้าผ้า อุปกรณ์การตัดเย็บชุดต่าง ๆ ไปจนถึงเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการย้ายกลุ่มร้านค้าบริเวณสะพานเหล็กไปตั้งที่อื่นแทนด้วย ทำให้พาหุรัดในวันนี้อาจจะกลายเป็นแค่ย่านการค้าที่รุ่งเรืองมากครั้งหนึ่งเท่านั้น ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล คุณกิตติพงษ์   วงศ์มีนา   เจ้าของร้านไตเย็บใหม่ , คุณสุเทพ   ซิงห์   เลขาธิการสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา  ( วัดซิกข์  ) พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • ประเพณีบุญส่งกับจุดเริ่มต้นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2559 มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ กำลังมีโครงการร่วมมือกับชุมชนบ้านทะเลน้อยและวัดราชบัลลังก์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ในการทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย  เนื่องจากบริเวณพื้นที่บ้านทะเลน้อยมีประวัติศาสตร์ความมายาวนาน ไม่ว่าจะมาจากตำนานเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาหลายรุ่นอายุของคนในพื้นที่หรือจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยกรุงธนบุรี มีข้อสันนิษฐานว่า บ้านทะเลน้อยเป็นเส้นทางผ่านการเดินทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อเข้าตีเมืองจันทบูร โดยข้ามฝั่งผ่านทางแม่น้ำประแส บริเวณ “ท่าบน” และ “ท่าล่าง” หรือเรียกกันในท้องถิ่นว่า “ตรอกตากสิน” เป็นเส้นทางในการเดินทางไปข้ามลำน้ำพังราดที่ช้างข้ามและพักทัพที่ทุ่งสนามชัยหรือวัดสนามชัยต่อไป  “ ตรอก ” เป็นคำท้องถิ่นซึ่งหมายถึงพื้นที่กว้างไม่ใช่หมายถึงซอยหรือทางเดินแคบ ๆ   ในชุมชนหรือหมู่บ้านแต่อย่างใด บริเวณตรอกตากสินที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเดินทางผ่านนั้น เคยเป็นชุมชนเก่าที่มีการพบเศษภาชนะดินเผาอยู่ในพื้นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งที่วีดราชบัลลังก์ยังปรากฏตั่งวางเท้าขนาดเล็กที่เคยอยู่คู่กับแท่นประทับโดยมีฝีมือช่างรูปแบบคล้ายคลึงกัน กล่าวกันว่าน่าจะเป็นสิ่งของประทานจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชภายหลังขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตั้งแต่สมัยเมื่อครั้งที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ เมื่อทราบจากชาวบ้านว่าพระแท่นที่นำมาถวายไว้ที่วัดเนินสระที่เป็นชื่อเดิมของวัดราชบัลลังก์เป็นแท่นประทับฝีมือช่างชั้นสูงที่ผสมผสานศิลปะแบบจีน จึงขอนำไปเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรณาณในพระนคร แต่ไม่ได้นำตั่งวางเท้าไปด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโบราณวัตถุสำคัญของวัดราชบัลลังก์ ในช่วงเช้าของวันงานประเพณีบุญส่ง ชาวบ้านทะเลน้อยจะมีการฉลองกองพระทรายก่อนจะเริ่มการทำบุญ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในพื้นที่บ้านทะเลน้อย และความเชื่อของชาวบ้านที่ว่าพื้นที่ของบ้านทะเลน้อยเองเคยเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญในอดีต จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านทะเลน้อยมีความต้องการขอนำแท่นประทับจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครที่อยู่ในการรักษาดูแลของทางรัฐ กลับมาเก็บรักษาไว้กับชุมชน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มและร่วมกันสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้น เพื่อนำหลักฐานทางโบราณคดีจำพวกเศษภาชนะดินเผาที่พบทั้ง หม้อ ไห ถ้วย ชามต่าง ๆ  มาเก็บและจัดแสดงรวมกันในพื้นที่ส่วนรวมของชุมชน ซึ่งก็คือ “วัดราชบัลลังก์”   ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ใส่อาหารเพื่อลอยเรือในประเพณีบุญส่งที่บ้านทะเลน้อยจะเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในชุมชน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ร่วมเก็บข้อมูล  “ ประเพณีบุญส่ง” ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญหลังสงกรานต์ และต่อมาถูกจัดให้เป็นเทศกาลประจำปีของบ้านทะเลน้อย  ความหมายของประเพณีบุญส่งหรือทำบุญวันไหล ถือว่าการทำบุญขึ้นปีใหม่ และเป็นช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ปีใหม่ในแต่ละรอบปีของชาวทะเลหรือคนที่อาศัยอยู่ติดกับสายน้ำ  รูปแบบประเพณีดั้งเดิมของผู้คนในภาคตะวันออกที่อาศัยอยู่ติดริมทะเลจะมีความใกล้เคียงกัน โดยจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญให้กับบรรพบุรุษ และผีไม่มีญาติ มีการเฉลิมฉลองร่วมกัน เพื่อรับสิ่งมงคลเข้ามาในปีใหม่ รวมถึงการส่งเคราะห์หรือสิ่งไม่ดีในปีเก่าให้ออกไปจากตัวเองและชุมชนด้วย   การกำหนดช่วงเวลาของประเพณีบุญส่งในแต่ละที่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น วันไหลที่จังหวัดชลบุรี จัดงานขึ้นหลังประเพณีสงกรานต์  หลังจากการทำบุญและลอยเรือแล้ว ชาวบ้านจะนั่งล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันที่ศาลาตามท่าต่าง ๆ  แต่ประเพณีดั้งเดิมของชาวชองที่อาศัยอยู่จังหวัดในแถบทางภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรีและตราด จะจัดขึ้นในช่วงวันพระหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเป็นเกณฑ์ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการเฉลิมฉลองก่อนการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ เรียกประเพณีนี้ว่า พิธีทำบุญส่งทุ่ง การจัดพิธีบุญส่งทุ่ง คนในชุมชนแต่ละบ้านจะนำอาหารมาใส่ในใบไม้ ทำเป็นเกวียนจำลองเป็นพาหนะในการเดินทางของยมทูต เพื่อให้สิ่งที่มองไม่เห็นเหล่านี้นำเอาโรคภัยไข้เจ็บออกไปจากหมู่บ้าน และเป็นการคุ้มครองป้องกันอันตรายต่าง ๆ การจัดประเพณีบุญส่งทุ่งของชาวชองจะจัดต่อเนื่องกันจากชุมชนที่ไกลทะเลไปสู่ชุมชนใกล้ทะเล เพื่อจะส่งสิ่งร้าย ๆ ออกสู่ทะเลไป  การจัดประเพณีบุญส่งที่บ้านทะเลน้อย อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ก็เช่นกัน บ้านทะเลน้อยซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดกับแม่น้ำโดยรอบ มีเพียงทิศตะวันตกเฉียงใต้เพียง ๔ กิโลเมตรเท่านั้น ที่ไม่ได้มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำ และจากการเป็นพื้นที่มีน้ำล้อมรอบจึงมีประเพณีบุญส่งที่ส่งเคราะห์ออกสู่ทะเล ใช้สายน้ำในการลอยเรือไปในแม่น้ำที่ชาวบ้านใช้สัญจรและประกอบอาชีพ เพื่อทำบุญให้กับบรรพบุรุษและผีที่ไม่มีญาติในช่วงปีใหม่ไทย  งานบุญส่งของบ้านทะเลน้อยจัดขึ้นหลังวันสงกรานต์ ช่วงเวลาอาจจะกำหนดตามความเหมาะสมของเวลาในแต่ละปี ภายหลังจากวันสงกรานต์ที่มีการก่อกองพระทรายที่วัดราชบัลลังก์แล้ว วันถัดไปจะมีการทำบุญที่ศาลาต่าง ๆ ในหมู่บ้านเป็นเวลา ๔ วันต่อเนื่องกัน โดยเรียงตามลำดับตามศาลาที่สำคัญในหมู่บ้านตั้งแต่ “ศาลาท่าพลง” “ศาลาท่าโป๊ะ” “ศาลาท่าล่าง” และ “ศาลาท่าปอ”  ซึ่งศาลาท่าพลงเป็นเพียงศาลาเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำในปัจจุบัน เพราะสมัยก่อนเคยเป็นคลองเล็ก ๆ แต่ปัจจุบันถูกถมทำเป็นถนนแล้ว แต่ก็ยังคงจัดงานบุญส่งที่ศาลาท่าพลงตามเดิม ส่วนศาลาที่เหลือก็จะเรียงกันไปตามเส้นทางสายน้ำที่จะออกสู่ทะเล  พิธีกรรมเริ่มจากการที่ชาวบ้านมาร่วมกันทำบุญจัดอาหารคาวหวานนำมาเพื่อตักบาตรและถวายพระ และหลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จ ชาวบ้านจะรับประทานอาหารร่วมกันบริเวณศาลาที่จัดงาน ในระหว่างนั้นชาวบ้าน ๒-๓ คนจะนำอาหารคาวหวานหรืออาหารแห้งที่ใส่ในเรือไปลอยส่งเคราะห์ในแม่น้ำ เพื่อให้วิญญาณไร้ญาติจากที่ต่าง ๆ ได้รับอาหารเหล่านี้ และในช่วงบ่ายจะมีการละเล่นร้องรำทำเพลงหรือการแสดงไปตลอดวัน ภายหลังรูปแบบของการจัดงานมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามสภาพแวดล้อมและกาลเวลา เช่น ในอดีตการจัดทำเรือจำลองเป็นพาหนะในการลอยส่งอาหารไปให้วิญญาณบรรพบุรุษและผีที่ไม่มีญาติ จะทำจากวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ใบจาก ใบตอง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเรือทำขึ้นจากวัสดุที่หาได้ง่ายในชุมชน เช่น ลัง กล่องโฟม และการมางานบุญที่เหมือนเป็นการกลับมาพบปะกันของญาติพี่น้องในชุมชน คนที่ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นจะกลับมาเพื่อร่วมงานบุญกับครอบครัว พูดคุยเล่าเรื่องราวและรับประทานอาหารร่วมกัน โดยชาวบ้านมีความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าการมางานบุญจะไม่ให้นำอาหารที่นำมาทำบุญกลับบ้านไปด้วย หากรับประทานไม่หมดจะต้องทำทานให้กับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่แถวศาลาหรือวิญญาณและผีที่ไม่มีญาติแทน แต่ปัจจุบันก็มีบ้างที่คนในชุมชนจะหิ้วปิ่นโตกลับไปทานข้าวที่บ้านแทนการทานอาหารร่วมกันกับคนในชุมชนแบบแต่ก่อน และคลายความเชื่อเรื่องการไม่ให้นำอาหารทำบุญกลับบ้านไปด้วย ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำล้วนมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ผูกพันกับสายน้ำ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของประเพณีด้วย เช่นเดียวกับที่บ้านทะเลน้อยนี้ แม้จะไม่ได้มีพื้นที่ติดกับทะเลแต่ก็ยังมีพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำโดยรอบ ทำให้การดำเนินชีวิตมีความสัมพันธ์กับแม่น้ำในทุกช่วงชีวิตอย่างไม่สามารถตัดขาดได้ พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์ ขอบคุณผู้ให้ข้อมูล อรุณ ปฏิสังข์, วาริน บำรุง, สายชล รื่นรมย์, สุทธิ ช่างเหล็ก ชาวบ้านทะเลน้อย อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • จากบุญสงกรานต์สู่เวทีประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2559 วันขึ้นปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน เป็นเวลาที่ทุกคนได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์และสนุกสนานร่วมกันในงานบุญประเพณีสงกรานต์ เพราะนอกจากจะได้ร่วมทำบุญใส่บาตร รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสแล้ว ยังเป็นเวลาที่หนุ่มสาวแต่ละบ้านจะได้มีโอกาสมาเจอะเจอเพื่อร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ก่อพระเจดีย์ทราย และชมมหรสพต่าง ๆ เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมที่อาศัยช่วงเทศกาลนี้ทำความรู้จัก สร้างความใกล้ชิดและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น ทุกวันนี้แม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะยังพบเห็นการเล่นน้ำสงกรานต์ตามท้องถนนและย่านชุมชนต่าง ๆ แต่กิจกรรมงานบุญตามวัดก็ลดน้อยลงไปมาก ต่างจากในอดีตที่แทบทุกย่านจะมีการจัดประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งภาครัฐเองก็เป็นเจ้าภาพจัดพิธีทำบุญใส่บาตรที่ท้องสนามหลวงทุกปี  แต่พื้นที่บริเวณ “วิสุทธิกษัตริย์” เป็นย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ยังคงให้ความสำคัญต่อบุญประเพณีสงกรานต์ มีการจัดงานเกือบทุกปี เป็นเวลายาวนานกว่า ๗๐ ปีมาแล้ว ผู้ชนะการประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ในอดีตจะได้รับขันน้ำพานรองเป็นรางวัล แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นถ้วยเบญจรงค์แทน เพราะการผลิตขันน้ำพานรองที่เป็นงานฝีมือของย่านพานถมได้สูญหายไปแล้ว   บุญสงกรานต์ย่านวิสุทธิกษัตริย์  วิสุทธิกษัตริย์เป็นหย่อมย่านที่ตั้งอยู่ระหว่างคลองบางลำพูกับคลองผดุงกรุงเกษม ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๑ บริเวณนี้ยัง เป็นเรือกสวนที่มีชุมชนต่างๆ ตั้งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ เช่น บ้านพานถม บ้านช่างหล่อ บางขุนพรหม ฯลฯ โดยมี ถนนสามเสนพาดผ่านทางทิศตะวันตกขนานกับลำน้ำเจ้าพระยา มีถนนวิสุทธิกษัตริย์ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕  ตัดตรงจากแม่น้ำมาบรรจบกับถนนสามเสน เกิดเป็นแยกบางขุนพรหมซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นวงเวียนสามเสน  กระทั่งในปี  พ.ศ. ๒๔๗๑ มีการตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์เพิ่มเติม  เชื่อมจากวงเวียนสามเสนไปทางตะวันออกจรดกับ ถนนราชดำเนินนอก การตัดถนนสายดังกล่าวนอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางแล้ว ยังเป็นการเปิดพื้นที่สวนผลไม้และย่านชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ด้านในให้เจริญขึ้น เกิดร้านค้าและบ้านเรือนขึ้นสองฝั่งถนน รวมถึงนำพาผู้คนในแต่ละย่านให้มาพบปะสังสรรค์กันง่ายยิ่งขึ้น  จุดเริ่มต้นของการจัดประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์เกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อคุณสุวมิตร หรือแฉล้ม  คงนิยม ซึ่งขณะนั้นเปิดร้านขายของจิปาถะชื่อ “ปรสุราม” บนถนนวิสุทธิกษัตริย์ ได้ชักชวนเพื่อนบ้านให้ร่วมจัดทำบุญเลี้ยงพระในวันตรุษสงกรานต์ โดยจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ และได้รับความร่วมมือจากทุกครัวเรือนเป็น อย่างดี ต่างพากันมาช่วยตระเตรียมข้าวของและสถานที่ งานบุญครั้งนี้สามารถนิมนต์พระจากวัดในละแวกใกล้เคียงได้ถึง ๒๐๐ รูป วันงานมีพิธีใส่บาตร เลี้ยงพระ และการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เสือซ่อนเล็บ เข้าผีแม่ศรี ผีสาก ฯลฯ สร้างความสุขและความสนุกสนานให้กับผู้คนในย่านเป็นอย่างมาก หลังเสร็จสิ้นงาน คุณสุวมิตร คงนิยม คุณฉัตร เศวตดิษ และคุณแส ศรีกุลดิศ ซึ่งเป็นแม่งานในการจัดงานครั้งนี้ได้ปรึกษาและตกลงที่จะจัดงานบุญสงกรานต์ต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้อาวุโสในชุมชนขณะนั้น คือ ท่านเจ้าคุณวิเศษธรรมธาดา อดีตอธิบดีศาลฎีกา และหลวงอนุการรัชฏ์พัฒน์ (อู๋ รัชตะศิลปิน) การจัดงานทำบุญวันขึ้นปีใหม่ไทยของชาววิสุทธิกษัตริย์จึงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้  นางงามตักบาตรสงกรานต์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งเป็นปีที่มีการจัดงานใหญ่โตมากขึ้น มีการนิมนต์พระภิกษุมารับบาตรเช้าถึง ๒,๐๐๐ รูป จัดเลี้ยงพระและตั้งศาลาโรงทานเรียงรายตลอดสองฝั่งถนนวิสุทธิกษัตริย์ พร้อมกับเป็นปีแรกที่มีการประกวดประขันนางงามตักบาตรสงกรานต์ขึ้น ด้วยวิธีการทอดบัตรกับหญิงสาวที่มาร่วมในงานบุญ คือ เป็นการเลือกสรรหญิงสาวผู้มีกิริยามารยาทงดงามที่เข้ามาร่วมงาน ด้วยการที่คณะกรรมการจะนำบัตรไปติดให้กับหญิงสาวที่ตรงกับคุณลักษณะ หากหญิงสาวท่านใดได้รับบัตรมากกว่าคนอื่น ก็จะได้รับตำแหน่งนางงามไป นับเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเช่นเดียวกับการประกวดนางสาวสยามในยุคนั้น ซึ่งเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างแพร่หลายตามหน้าหนังสือพิมพ์ในเวลานั้น การจัดงานดำเนินเรื่อยมาทุกปีจนกระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น จึงชะงักและยกเลิกไปถึง ๔ ปี ระหว่าง  พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๘ จนเมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ คุณสุวมิตร คงนิยม  จึงตั้งโต๊ะประกาศที่จะจัดงานสงกรานต์ขึ้นอีกครั้ง โดยขอรับบริจาคทุนทรัพย์จากชาวบ้านเพื่อใช้ในการจัดงาน แต่ที่สำคัญยิ่งในครั้งนี้ก็คือ ได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนการจัดงานสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ พร้อมกับพระราชทานนามของงานว่า “งานรับขวัญชาววิสุทธิกษัตริย์” งานสงกรานต์ปีนั้นนอกจากการทำบุญใส่บาตร  เลี้ยงพระ มีมหรสพการละเล่น และประกวดนางงามตักบาตรสงกรานต์เช่นเดิมแล้ว ยังมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จำลองจากวัดตรีทศเทพมาประดิษฐานไว้ที่กองอำนวยการ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำอีกด้วย  เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “การประกวดนางงามตักบาตรสงกรานต์” เป็น “การประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์” โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์เรื่องการตักบาตรเช้า การแต่งกาย และเลือกสรรหญิงงามจากกิริยามารยาทแบบไทย เพื่อยึดมั่นขนบธรรมเนียมอย่างไทยที่ต้องการอนุรักษ์ไว้ แตกต่างจากการประกวดนางสาวไทยในเวลาเดียวกัน ที่มีการพัฒนารูปแบบการแต่งกายเป็นอย่างตะวันตก เน้นอวดสรีระกันมากขึ้น  คุณสรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ อดีตเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ปี ๒๕๓๘ และคุณ ทิพย์สุภา รุ่งเรืองศรี เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ปี ๒๕๔๒ บนขบวนแห่รถบุปผชาติ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นปีสุดท้ายที่คุณสุวมิตร คงนิยม ได้ร่วมเป็นประธานจัดงานฯ ก่อนจะเสียชีวิตลง จากนั้นในปีต่อ ๆ มาได้มีข้าราชการและผู้มีเกียรติที่อาศัยอยู่ในละแวกสลับเปลี่ยนกันเป็นประธานจัดงาน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นับเป็นปีแรกที่มีการบันทึกชื่อผู้ได้รับตำแหน่งเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ คือ นางสาวเบญจวรรณ บุญตามี ซึ่งได้ก้าวเข้าสู่วงการมายาในเวลาต่อมา  การประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ในระยะหลัง ๆ สาวงามบางคนสามารถไต่เต้าไปเป็นนักแสดงและผู้มีชื่อเสียงในวงสังคม หลายคนสามารถก้าวเข้าสู่เวทีประกวดที่ใหญ่กว่าและคว้ารางวัลกลับมา ซึ่งคุณนวนัฑ แจ่มนิยม ประธานประชาคมชาววิสุทธิกษัตริย์คนปัจจุบันและเป็นผู้จัดการประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์มานานนับสิบปี ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงเวทีประกวดนางงามในพื้นที่ใจกลางกรุงแห่งนี้ว่า  ในอดีตผู้ที่ได้รับการทอดบัตรมักเป็นลูกหลานของคนในชุมชนที่เดินทางมาร่วมทำบุญใส่บาตร แต่ต่อมามีคนจากภายนอกเข้ามาร่วมงานและได้ร่วมการประกวดด้วย ซึ่งคณะกรรมการจัดงานก็มิได้มีข้อห้ามแต่อย่างใด เหตุการณ์สำคัญที่ถูกกล่าวขานและคุณนวนัฑยังจดจำได้ดีก็คือ งานสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (สกุลเดิม ลิมปภมร) ได้เดินทางมาร่วมงานทำบุญใส่บาตรที่ท้องสนามหลวงกับหลวงนรอัฎบัญชาผู้เป็นบิดา จากนั้นผ่านมาทางถนนวิสุทธิกษัตริย์พบเห็นการจัดงานประจำปีจึงหยุดชม ปรากฏว่าได้รับการทอดบัตรเข้าร่วมประกวดเทพีสงกรานต์อย่างปัจจุบันทันด่วน และตำแหน่งเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ในปีนั้นก็คือ คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ นั่นเอง สร้างความฮือฮาให้กับผู้มาร่วมงานเป็นอย่างมาก วันนั้นนอกจากคุณหญิงพันธุ์เครือจะได้รับตำแหน่งเทพีแล้ว ยังได้รับขันน้ำพานรองเครื่องถมที่เป็นของดีของย่านเป็นรางวัลอีกด้วย  เวทีประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์มีการพัฒนาและได้รับความสนใจจากสังคมภายนอกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา มีการประกวดผ่านสื่อประเภทต่างๆ มากขึ้น นอกเหนือจากสื่อหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาแต่เดิม โดยปีนี้ได้มีการถ่ายทอดเสียงการประกวดผ่านทางวิทยุเป็นปีแรก และอีก ๒ ปีต่อมาได้พัฒนาเป็นการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ นับเป็นตัวชี้วัดถึงความสนใจของประชาชนไม่แพ้การประกวดนางงามระดับชาติ   ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งคือ การเริ่มประกวดหนูน้อยสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่ยังคงเน้นการแต่งกายชุดไทยและกิริยามารยาทแบบไทยเป็นสำคัญ สะท้อนถึงความพยายามในการปลูกฝังคุณค่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของชาติตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความภาคภูมิใจของคนในย่านวิสุทธิกษัตริย์ เช่นเดียวกับที่เวทีประกวดของย่านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญของสังคมมาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย อย่างหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา อดีตนายกสมาคมสตรีไทย ผู้เป็นแบบอย่างของสตรีที่อุทิศเวลาให้กับงานส่วนรวมได้มาเป็นประธานการตัดสินในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ และกรณีที่คุณสรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ ผู้ได้รับตำแหน่งเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนางสาวไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นับเป็นตัวบ่งชี้มาตรฐานการคัดสรรผู้เข้าประกวดบนเวทีระดับชาวบ้านสู่ความสำเร็จในเวทีระดับชาติ หลักการเดิม บนสถานที่ใหม่ ปัจจุบันงานสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ยังคงจัดเป็นประจำทุกปี แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างภายหลังจากการสร้างสะพานพระราม ๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำให้การจัดประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ต้องย้ายไปจัดในหลายพื้นที่ เช่น ลานอเนกประสงค์ของโรงแรมนูโว ซิตี้ อันเป็นบริเวณตลาดนานาเก่า และล่าสุดในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๘) ได้ย้ายไปจัดที่ลานอเนกประสงค์ใต้สะพานพระราม ๘ คุณนวนัฑกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้จะมีอุปสรรคในด้านพื้นที่ แต่ทุกคนที่เคยร่วมงานกันมาไม่รู้สึกย่อท้อ และปัจจุบันยังขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังชุมชนตรอกบ้านพานถมที่มีคุณพิมพ์ศิริ  สุวรรณาคร เป็นประธานชุมชน กับย่านบางลำพูที่มีคุณอรศรี ศิลปี ผู้อาวุโสของย่านคอยช่วยประสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วน แม้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์แต่ละชุมชนจะมีการจัดงานคาบเกี่ยวกันอยู่ แต่เมื่อมีโอกาสก็จะมาร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานกับชาววิสุทธิกษัตริย์ เพราะอยู่ละแวกเดียวกัน จึงเสมือนประหนึ่งเครือญาติ  การประกวดเทพีสงกรานต์ในปัจจุบัน จะมีการประกอบพิธีบวงสรวงสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ ก่อนถึงวันงาน ๑ วัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างถนนวิสุทธิกษัตริย์ขึ้นมา หลังจากเสร็จพิธี ผู้เข้าประกวดจะร่วมกันสรงน้ำพระ ปล่อยนกปล่อยปลา ตกเย็นจะเป็นเวทีประกวดหนูน้อยสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ วันรุ่งขึ้นแต่เช้าตรู่จะมีพิธีทำบุญใส่บาตรพระภิกษุสามเณร โดยผู้เข้าประกวดเทพีทุกคนจะต้องมาเข้าร่วมพิธี จากนั้นช่วงสายจึงเป็นการประกวดเทพีในรอบแรกและรอบตัดสินตามลำดับ โดยยังคงรักษาเงื่อนไขการตัดสินเช่นในอดีต คือ แต่งกายสุภาพด้วยการสวมใส่ชุดไทยจิตรลดา กิริยามารยาทงามอย่างไทย และไม่เน้นเครื่องประดับตกแต่งภายนอก นับเป็นเสน่ห์สำคัญของเวทีประกวดสาวงามแห่งนี้ที่ยังคงรักษาภาพลักษณ์ของกุลสตรีไทยไว้ ซึ่งในเวทีประกวดอื่น ๆ ไม่มี ถือเป็นแบบอย่างและเอกลักษณ์ที่อาจช่วยกระตุ้นให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าเดิมของหญิงไทย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่ที่เน้นให้ผู้หญิงต้องกล้าแสดงออกในทุกด้าน จนอาจมองข้ามความพอดีอย่างไทยไป ขอบคุณ :  คุณนวนัฑ แจ่มนิยม ประธานประชาคมชาววิสุทธิกษัตริย์ อ้างอิง “ ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์ ”. ราชกิจจานุเบกษา . ๒๐   มีนาคม   ๒๔๗๑   เล่ม   ๔๕ .  อังคเรศ   บุณทองล้วน . กระบวนการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ความงามทางสรีระของผู้หญิงในสังคมไทย  : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกวดนางสาวไทย . วิทยานิพนธ์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา   คณะรัฐศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ๒๕๓๗ . ๗๐   ปี   ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์   ๗   ทศวรรษแห่งตำนาน   งามตระการคู่พระนคร .   ( เอกสารเย็บเล่ม ) ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

  • เรือเครื่องเทศ หัวใจแก่งการค้าบนสายน้ำในอดีต

    เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2559 คุณสุรีย์ เรสลี ชาวชุมชนมัสยิดฮารูณ ผู้มีเชื้อสายชาวมุสลิมบ้านหัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นคนในตระกูลค้าเรือเครื่องเทศรุนสุดท้าย บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในย่านสำเพ็ง ราชวงศ์ และทรงวาด เรื่อยไปจนถึงย่านตลาดน้อย ถือว่าเป็นย่าน การค้าของชาวจีนที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่มากที่สุดแห่งหน่ึงของ กรุงเทพฯ แต่นอกเหนือจากกลุ่มชาวจีนที่มีบทบาทต่อพัฒนาการ ทางเศรษฐกิจและสังคมของย่านน้ีแล้ว พบว่ากลุ่มคนมุสลิมได้เข้ามา มีบทบาททางการค้าร่วมกับชาวจีนในบริเวณน้ีมาอย่างยาวนาน สืบมาถึงปัจจุบัน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ นอกจากการค้าขายทางเรือสำเภา กับกลุ่มพ่อค้าชาวจีนแล้ว กลุ่มพ่อค้ามุสลิมมีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการติดต่อซื้อขายกับทางตะวันตกผ่านเมืองแถบมลายู โดยมี กรมท่าขวา นำโดย พระยาจุฬาราชมนตรี ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับพ่อค้ามุสลิมที่จะเข้ามาค้าขายกับสยามนอกจากนี้ขุนนางในกรมท่าขวายังทำหน้าที่คำนวณและบันทึกรายการเก็บภาษีค่าธรรมเนียมจากสินค้าประเภทต่าง ๆ ด้วย สินค้าที่สยามส่งไปยังเมืองท่ามลายูในเวลาน้ัน ได้แก่ ข้าว น้ำตาล เกลือ น้ำมันมะพร้าว ดีบุก ครั่ง งาช้าง ไม้กฤษณา เป็นต้น ขณะที่สินค้าที่สยามรับมาจากทางมลายูส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากอินเดียและประเทศทางตะวันตก เช่น เครื่องแก้ว เครื่องเทศ หวาย ผ้าจากอังกฤษและอินเดีย โดยเฉพาะสินค้าประเภทผ้าจากอินเดียนั้นถือว่าเป็นที่ต้องการของสยามเป็นอย่างมาก ทั้งผ้าแพรพรรณชั้นดี และผ้าฝ้ายราคาถูกโดยมี กรมพระคลังวิเศษมีหน้าที่ติดต่อซื้อขายผ้ากับประเทศอินเดีย เวลาต่อมาเมื่อมีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ สยามเปิดเสรีการค้ากับประเทศตะวันตก ในช่วงเวลานี้นอกจากเป็นยุคเฟื่องฟูของการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวและน้ำตาล ยังถือว่าเป็นยุคที่กิจการนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมากโดยที่บริษัทของเอกชนเริ่มเข้ามามีบทบาทซึ่งกิจการนำเข้าส่งออกสินค้าส่วนหนึ่งอยู่ในมือของกลุ่มพ่อค้ามุสลิม เช่นกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียจากแคว้นสุรัต ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและบริษัทอยู่ใกล้สุเหร่าตึกแดงหรือมัสยิดกุวติลอิสลาม ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านคลองสาน มีตระกูลสำคัญ เช่น นานา วงศ์อารยะ ฯลฯ เครื่องแก้วโบฮีเมีย สาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน เป็นที่มาของชื่อเรือ "เครื่องเทศ" เพราะเป็นสิ่งของนำเข้าจากต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งเป็นที่นิยมย่างมากในยุคสมัยที่การค้าเรือเครื่องเทศกำลังรุ่งเรือง กลุ่มมุสลิมมุอ์มิน คาวูดีโบห์รา เป็นพ่อค้าชาวอินเดียจากแคว้นกุจราต เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่มัสยิดเซฟีหรือมัสยิดตึกขาว ในย่านคลองสาน ทำการค้าขายสินค้าประเภทผ้าแพร ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชร พลอย เครื่องเทศ เครื่องหอม เมื่อข้ามฝั่งคลองสานมายังบริเวณท่าราชวงศ์ ทรงวาด และย่านสำเพ็ง ซึ่งเป็นย่านการค้าของชาวจีน พบว่ามีห้างร้านของมุสลิมชาวอินเดียเปิดอยู่ด้วยเช่นกัน ทั้งที่เป็นการขยายกิจการของกลุ่มพ่อค้ามุสลิมจากฝั่งคลองสานและที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา โดยกิจการของกลุ่มพ่อค้ามุสลิมที่แทรกตัวอยู่ในย่านการค้าของชาวจีน ส่วนใหญ่เป็นร้านนำเข้าผ้าจากต่างประเทศและร้านค้าขายเพรชพลอย ในซอยวานิช ๑ หรือตรอกสำเพ็ง บริเวณทางด้านย่านวัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นที่ตั้งร้านค้าของแขกมลายู น่าจะรวมถึงพ่อค้ามุสลิมจากอินเดียด้วย โดยมากเป็นร้านขายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแก้ว เครื่องเงิน เครื่องทอง ดังที่ปรากฏในตอนหนึ่งของ นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ แต่งโดยหลวงบุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ นอกจากนี้ในซอยวาณิช ๑ ทางด้านย่านวัดเกาะ ยังมีกิจการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือร้านค้าเพชรพลอย ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นชาวมุสลิมจากอินเดียใต้ในหนังสือ กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้ ของ กาญจนาคพันธุ์ (ขุนวิจิตรมาตรา) ได้มีการกล่าวถึงกลุ่มพ่อค้าแขกที่ขายเพชรพลอยในย่านสำเพ็งว่า "ทางสุดปลายถนนสามเพ็ง จวนออกวัดกะละหว่า (โบสถ์กาลหว่าร์-ผู้เขียน) หรือห้างเคี่ยมฮั่วเฮงซึ่งข้าพเจ้าเคยไปได้เห็นแขกพวหนึ่งจะเป็นพวกอะไรไม่ทราบ ตั้งร้านขายเพรชพลอย มีร้านใหญ่เรียกว่า "แขกด่าง" เป็นแขกและมีด่างจริง ๆ ตามร่างกายทั้งตัวและหน้าตา... ขายเพชรพลอยแท้และเพชรพลอยเทียมสำหรับไปแต่งหรือประดับเครื่องละครและยี่เก ร้านแขกแถวนั้นยังมีอีกสองสามร้าน... เข้าของร้านเห็นนุ่งโสร่ง ไม่ได้แต่งอย่างแขกเปอร์เซียหรือฮินดู หรือปาทาน" ปัจจุบันยังคงมีร้านขายพลอยและพวกหินสีแบบต่าง ๆ เปิดอยู่หลายร้าน ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มชาวมุสลิมที่พื้นเพมาจากอินเดียใต้ทั้งนั้น แต่ร้านเก่าแก่ที่ยังดำเนินกิจการอยู่มีเพียงไม่กี่ร้านเช่น ร้าน อี.เอ็ม. อาลี เปิดดำเนินกิจการมากกว่า ๑๐๐ ปี คุณระห์มาน อีเอ็ม ผู้สืบทอดกิจการร้านต่อจากคุณพ่อเล่าถึงความเป็นมาของร้านว่า "สมัยก่อนคุณอาของคุณพ่อเข้ามาเปิดร้านอยู่ก่อน แล้วจึงให้คุณพ่อมาจากอินเดียเพื่อมาช่วยงาน แต่เกิดเหตุอย่างไรไม่รู้ ทางคุณอามีเหตุจำเป็นที่ต้องกลับไปยังอินเดีย จึงปล่อยกิจการให้ทางคุณพ่อทำเรื่อยมา... ท่านเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยการนำพลอยใส่กระเป๋า แล้วเดินทางไปขายยังจังหวัดต่าง ๆ ทั้งเชียงใหม่ แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา เมื่อมีทุนมากขึ้น จึงกลับมาเปิดร้านพลอยทีนี่อีกครั้ง" "ส่วนใหญ่พวกพ่อค้าพลอยที่นี่เป็นมุสลิมมาจากอินเดียใต้เกือบทั้งนั้น มีจากอาหรับเพียงร้านเดียว แล้วมีคนจีนกับพวกแขกกลุ่มโบห์ราอยู่ร้านสองร้าน พลอยที่ขายสมัยก่อนเป็นพลอยพลอยแท้มาจากจันทบุรี พม่า ซึ่งเป็นทับทิม ส่วนเขมรเป็นพลอยไพลินส่วนใหญ่มีที่นำเข้ามาจากยุโรปบ้าง แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ที่ขายเป็นพวกพลอยรัสเซียร้านไม่ได้ทำเครื่องประดับขาย แต่ขายพลอยก้อนหรือพลอยเม็ดช่างที่ทำเครื่องประดับในสมัยก่อนนั้น ส่วนมากเป็นชาวจีนไหหลำที่มักหาซื้อพลอยจากร้านต่าง ๆ ในย่านนี้" ในย่านวัดเกาะยังเป็นแหล่งขายผ้าของพ่อค้าชาวอินเดียอีกด้วย ผ้าส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ถ้าใครที่จะเดินทางไปต่างประเทศจะต้องมาซื้อผ้าที่นี่เพื่อไปตัดเป็นชุดกันหนาวกันทั้งนั้น เพราะมีพวกผ้าขนสัตว์ ผ้าสักลาด ที่ให้ความอบอุ่น แต่ปัจจุบันที่ซอยวานิช ๑ ร้านขายผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว คงมีแต่ร้านขายพลอย เครื่องประดับ และร้านขายเชือก อวน แหซึ่งเป็นกิจการที่ขยายตัวเข้ามาภายหลัง ส่วนทางด้านการประกอบศาสนกิจประจำวันของชาวมุสลิมในย่านนี้ ในอดีตบางแห่งมีการทำบาแลขนาดเล็กไว้ใช้ประกอบพิธีร่วมกัน เช่น ภายในซอยวาณิช ๑ เคยมีบาแลตั้งอยู่บนชั้น ๒ ของอาคารตึกแถวที่ด้านล่างเป็ดเป็นร้านค้าขาย แต่ต่อมาเมื่อบาแลดังกล่าวไม่มีแล้ว ชาวมุสลิมในย่านนี้จะไปรวมตัวอยู่ที่ "สุเหร่าใหญ่" ซึ่งหมายถึง มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก หรือ สุเหร่าวัดเกาะ ซึ่งเป็นมัสยิดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางย่านการค้าของชาวจีนบนถนนทรงวาด สร้างขึ้นบนที่ดินของหลวงโกชาอิศหาก (เกิด บินอับดุลลาห์) ต้นตระกูลสมันตรัฐ ล่ามแขกมลายูแห่งกรมท่าขวาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อให้กลุ่มพ่อค้าชาวมุสลิมที่อาศัยเปิดกิจการและเดินทางมาติดต่อธุรกิจการค้าต่าง ๆ ในย่านนี้ได้ใช้ในการประกอบศาสนกิจร่วมกันส่วนพื้นที่ทางด้านหลังมัสยิดถูกแบ่งไว้เป็นกุโบร์ (หลุมฝังศพ) ร่างของหลวงโกชาอิศหาก และบรรพบุรุษของคนในตระกูลสมันตรัฐล้วนฝังอยู่ในกุโบร์แห่งนี้รวมไปถึงขุนนางมุสลิมจากหัวเมืองทางใต้และกลุ่มพ่อค้าชาวมุสลิมในย่านนี้ ซึ่งมีทั้งอินเดียและจีนฮ่อที่เคยเข้ามาค้าขายในย่านนี้ด้วย ปัจจุบันมัสยิดหลวงโกชาอิศหากอยู่ในความดูแลของตระกูลมันตรัฐ ซึ่งยังเปิดให้มุสลิมโดยทั่วไปเข้ามาใช้ประกอบศาสนกิจได้ นอกจากบริเวณย่านวัดเกาะที่ซอยวานิช ๑ แล้วทางด้านถนนราชวงศ์และถนนอนุวงศ์ ในอดีตก็เป็นที่ตั้งบริษัทห้าร้านของกลุ่มพ่อค้าชาวมุสลิมเช่นเดียวกัน เช่น ที่ถนนอนุวงศ์ เดิมเคยเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ห้าง เอ. ที. อี. มัสกาตี [A.T.E. Maskati] ผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าลายที่มีชื่อเสียงอย่างมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันอาคารของห้างมัสกาตีถูกรื้อไปหมดแล้ว แต่ที่บริเวณหัวมุมถนนทรงวาดมีตึกโบราณที่เรียกกันว่า "ตึกแขก" มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่ใกล้เคียงกับอาคารมัสกาตี คือมีการประดับลวดลายฉลุไม้แบบเรือนขนมปังขิง ซุ้่มหน้าต่างเป็นทำเป็นทรงโค้งแหลม [Pointed Arch] แบบสถาปัตยกรรมโกธิค เป็นไปได้ว่าในอดีตอาจจะเป็นห้างร้านของกลุ่มพ่อค้ามุสลิมเช่นเดียวกัน นอกจากนี้บริเวณถนนอนุวงศ์ในปัจจุบันยังมีตึกแถวเก่าแก่ของตระกูลนานาที่เคยเปิดทำเป็นธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าหลงเหลืออยู่อีกด้วย ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์ อ้างอิง กาญจนาคพันธุ์. นามแฝง. กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้. กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๔๕. จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. ขุนนางกรมท่าขวา การศึกษาบทบาทและหน้าที่ในสมัย อยธุยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๔๓๕. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๖. บุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ). หลวง. นิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ. พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกเนื่องในงานทอดพระป่าเจ็ดวัดที่จังหวัดจันทบุรี ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕. ขอบคุณ คุณระห์มาน อีเอ็ม เจ้าของร้าน อี. เอ็ม. อาลี อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

เกี่ยวกับมูลนิธิ

เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ลำดับที่ ๕๘๐ ของประกาศกระทรวงการคลังฯ เผยแพร่ความรู้และความเข้าใจทางสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่างๆ และเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก

SOCIALS 

© 2023 by FEEDs & GRIDs. Proudly created with Wix.com

bottom of page