top of page

เรื่องความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น 

หนังสือชุด “คู่มือฉุกคิด” ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น ผู้เขียน ศรีศักร วัลลิโภดม ประกอบไปด้วยแนวคิดพื้นฐานเรื่องราวทางสังคมและวัฒนธรรมอีกหลายประเด็น จัดทำเพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ใช้แนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยามาปรับใช้กับประสบการณ์จากท้องถิ่นต่างๆ สร้างเป็นแนวทางพื้นฐานที่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายดายสำหรับผู้สนใจศึกษาโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น [Local history] คือ การศึกษาในลักษณะประวัติศาสตร์มีชีวิต [Living history] แสดงให้เห็นพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่วัฒนธรรมอันแตกต่างไปจากพื้นที่การปกครองของรัฐ พื้นที่การปกครองหมายถึง ฐานในการบริหารจัดการที่สืบสานเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ได้ทำลายพื้นที่วัฒนธรรมที่เคยเป็นมาแต่อดีตกาลนับพันปีขึ้นไปของผู้คนในดินแดนประเทศสยามถึงประเทศไทยในขณะนี้อย่างสิ้นเชิง การมองจากภายนอกดังกล่าวจึงแลเห็นแต่ลักษณะที่เป็นกายภาพ ตามจำนวนผู้คนที่อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน แต่มองไม่เห็นคนกับความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดการเกี่ยวดองกันของผู้คนจากข้างในที่เน้น “ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่ทำให้เกิดสำนึกร่วมของการอยู่เป็นกลุ่มเหล่าภายในพื้นที่วัฒนธรรมเดียวกัน

 

ข้อมูลหนังสือ

หนังสือ“คู่มือฉุกคิด” ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น

ISBN ๙-๗๘๖๑๖๗-๘๑๑๒๓๙ จัดพิมพ์โดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ปีที่พิมพ์ : ตุลาคม ๒๕๕๗, หนังสือขนาด (๑๔.๘ x ๒๑.o ซม.), จำนวน ๘๔ หน้า

ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น

฿100.00ราคา
จำนวน

    เกี่ยวกับมูลนิธิ

    เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ลำดับที่ ๕๘๐ ของประกาศกระทรวงการคลังฯ เผยแพร่ความรู้และความเข้าใจทางสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่างๆ และเพื่อสร้างนักวิจัยท้องถิ่นที่รู้จักตนเองและรู้จักโลก

    SOCIALS 

    © 2023 by FEEDs & GRIDs. Proudly created with Wix.com

    bottom of page